MES คืออะไร ทำไมต้องมี? เมื่อใดควรลงทุน? และอื่นๆ หาคำตอบอย่างละเอียดได้ที่นี่
Manufacturing Execution System (MES) มี ERP แล้วทำไมยังต้องมี MES และ OEE สำคัญยังไง? ทำไมทุกโรงงานถึงต้องคำนวน? มาCheck list โรงงานของคุณมีปัญหานี้หรือไม่
หน้าแรก » Blogs  »  MES คืออะไร ทำไมต้องมี? เมื่อใดควรลงทุน? และอื่นๆ หาคำตอบอย่างละเอียดได้ที่นี่

ระบบ MES คืออะไร ? ทำไมถึงเป็นเหมือนหัวใจหลักของอุตสาหกรรมยุค 4.0

ทุกวันนี้อุตสาหกรรมมีความซับซ้อน และหลากหลายมากขึ้น จึงต้องอาศัยตัวช่วยที่จะทำให้เราสามารถทำงานได้ สะดวก รวดเร็วและง่ายดายยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยที่ทรงพลังที่สุดคือระบบ MES

Quick MES-1

ระบบ MES หรือ Manufacturing Execution System เป็นเหมือนหัวใจหลักของอุตสาหกรรมยุค 4.0 เป็นระบบปฏิบัติการในกระบวนการผลิต ที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างระบบ ERP กับ Shop floor จะทำงานโดยการรับคำสั่งการผลิต และแผนการผลิตจาก ERP ไปยังเครื่องจักร นอกจากนั้นยังสามารถเก็บข้อมูลการทำงานของเครื่องจักรได้อย่างละเอียด

Table of Content

1. หัวใจหลักของระบบ MES มี 4 อย่างคือ
2. โรงงานของคุณมีปัญหานี้หรือไม่
3. เมื่อใดควรจะลงทุน MES
4. มี ERP แล้วทำไมยังต้องมี MES
5. มองหา MES เลือก "Quick MES" ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0
6. MES แสดงผลการทำงาน 3 ด้าน ที่อัปเดตเป็นวินาที
7. ตัวอย่างการทำงานของ Quick MES
8. Quick MES ทำให้คุณรู้ว่าวินาทีไหนที่เครื่องจักรผลิตเงินให้คุณ และวินาทีที่คุณต้องจ่ายเงิน
9. 7 ประโยชน์ของ Quick MES สำหรับโรงงาน

หัวใจหลักของระบบ MES มี 4 อย่างคือ

Quick MES-2

1. การวางแผนการผลิต

2. ใบสั่งผลิต

3. ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร

4. การติดตามการหยุดทำงานของเครื่องจักร

โรงงานของคุณมีปัญหานี้หรือไม่

- ไม่สามารถทราบถึงสถานะของการผลิตสินค้า

- รู้ปัญหาของการผลิตล่าช้า

- ไม่สามารถผลิตงานได้ตามเป้าหมาย

- ใช้เวลาในการทำรายงานการผลิตมาก

มี ERP แล้วทำไมยังต้องมี MES

1. ถ้าปัญหาในการ Monitor งานในฝั่งโรงงาน คือ ปัญหาใหญ่ ระบบ MES จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้

2. เมื่อต้องการเปลี่ยน Paperwork ไปเป็น Paperless

3. เมื่อต้องการข้อมูลการผลิต เข้ามายังระบบ ERP แบบ Realtime และถูกต้อง

4. เมื่อต้องการข้อมูลมาทำการ Improve Process เมื่อต้องการข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำมา Predict Data

5. เมื่อต้องการให้มี Workflow ในกระบวนการผลิต

มี ERP แล้วทำไมยังต้องมี MES

1. มีการลงทุน ERP อยู่แล้ว แต่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ Realtime และละเอียดเพียงพอ

2. มีการลงทุน Automation อยู่แล้ว แต่ไม่สามารถนำข้อมูลไปเข้าระบบ ERP ได้

3. หากมีระบบ MES จะสามารถเก็บต้นทุนการผลิตได้ละเอียดมากขึ้น (by Order)

4. สามารถวางแผนการผลิต (Detail Planning) และติดตามการผลิต ได้ละเอียดมากขึ้น

5. การเชื่อมต่อทั้งสองระบบทำให้เราได้ข้อมูลที่ทันท่วงที่มากขึ้น (Real More)

6. เมื่อเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ ด้วยระบบ MES จะทำให้สามารถใช้งาน ERP และ Automation ได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น

หากอยากรู้ว่าระบบ ERP คืออะไร สามารถศึกษาหน้าที่ของระบบนี้ได้ที่นี่

อ่านบทความฉบับเต็ม "ERP คืออะไร ฉบับอัพเดท 2023"

มองหา MES เลือก "Quick MES" ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0

Quick ERP เป็นผู้ผลิตรายเดียวในประเทศไทยที่คิดค้นและพัฒนา MES เองทั้งระบบ 100% ถูกกว่านำเข้า ลดต้นทุน 30% และได้รับมาตรฐาน ISA 95 สามารถเชื่อมต่อ MES เพื่อใช้งานกับระบบ ERP ได้ทุกโปรแกรม 

Quick MES ออกแบบมาเพื่อโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน รับรู้ต้นทุนการผลิตแบบ Real Time เช่น OEE Report, Scrap Report, Breakdown Report เป็นต้น ข้อมูลสถานะการผลิตจาก Machines จะส่งตรงไปยังระบบ ERP ที่คุณมีอยู่แล้วให้โดยอัตโนมัติแบบไร้รอยต่อตามข้อกำหนดของ ISA-95 ซึ่งข้อกำหนด ISA-95 จะทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการบูรณาการระหว่างระบบ ERP และ MES ที่เกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมากจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

MES แสดงผลการทำงาน 3 ด้าน ที่อัปเดตเป็นวินาที

นอกจากติดตามและแสดงผลสถานะการผลิตแบบเรียลไทม์แล้ว ระหว่างการผลิต MES ยังแสดงผลการทำงาน 3 ด้าน ที่อัปเดตเป็นวินาที คือ

  • ด้านประสิทธิภาพการทำงาน หรือ Availability (A)

หน้าจอจะแสดงให้เห็นแถบสีสถานะการทำงาน โดยสีเขียวคือช่วงเวลาที่เครื่องจักรทำงาน และสีส้มคือช่วงเวลาที่เครื่องจักรหยุดทำงาน การแสดงผลนี้จะทำให้เห็นว่าตลอดระยะเวลาทำงาน 8-9 ชั่วโมง เจ้าหน้าผู้ควบคุมที่อยู่ที่หน้างานหรือไม่, เครื่องจักรมีการทำงานจริงๆ กี่ชั่วโมง และยังบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักร หากเครื่องจักรหยุดทำงานนาน ๆ บ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าเครื่องจักรเริ่มมีปัญหา

  • ด้านจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ต่อระยะเวลาการผลิต หรือ Performance (P)

ระบบ MES จะคำนวณค่า P ว่าในแต่ละรอบการผลิตจะต้องผลิตชิ้นงานได้กี่ชิ้น และการผลิตจริงสามารถผลิตได้กี่ชิ้น เป็นไปตามที่ประเมินไว้หรือไม่ หากไม่เป็นไปตามที่ประเมิน หัวหน้างาน สามารถนำข้อมูลมาปรับแผนการผลิตได้ทันที เพื่อให้ได้จำนวนชิ้นงานตามที่วางแผน

  • ด้านคุณภาพ หรือ Quality (Q)

ระบบ MES จะแสดงผลการผลิตตลอดเวลาว่ามีผลงานที่ใช้ได้กี่ชิ้น และผลงานที่เสียกี่ชิ้น จะต้องผลิตเพิ่ม หรือ ต้องแก้ปัญหาอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลงานเพียงพอตามออร์เดอร์ของลูกค้า

ตัวอย่างการทำงานของ Quick MES

ยกตัวอย่างสถานีการผลิตในโรงงาน ในสถานีการผลิตนี้ประกอบไปด้วยระบบ MES ซึ่งมี MES terminal , scanner , remote IO ผลผลิตจะถูกแบ่งออกเป็น OK คือการผลิตที่สมบูรณ์ ส่วน NG เป็นของเสียจากการผลิต

MES-Screen 2

การทำงานของระบบ MES เริ่มแรก รับ work order มาบันทึกใน Schedule plan ส่งไปยังสายการผลิต ซึ่งในขั้นตอนแรกจะเห็นหน้าจอ waiting เลือก work order โดยการแสกนยืนยันการขึ้นงานจากสถานีการผลิตในทุก ๆ event ของการขึ้นงานในกระบวนการผลิตจะมีการจับเวลาและให้เหตุผล ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าเราใช้เวลาไปกับขั้นตอนใด ระยะเวลาเท่าใด

สแกนใบสั่งผลิตที่ต้องการขึ้นงาน เลือกใบสั่งผลิต สแกนในส่วนของ Operator admin และ Tool ที่ใช้ จากนั้นจึงทำการ Start plan เพื่อดำเนินการในขั้นตอนถัดไป

ถัดมาหน้าจอจะแสดงหน้า setting ซึ่งเครื่องจักรทำงานโดยการนำวัตถุดิบไปวางเตรียมพร้อมเพื่อรอการผลิต หลังจากการ setting ระบบจะเข้าสู่ขั้นตอน inspection

Quick MES 6

เมื่อผู้ตรวจสอบเข้ามาตรวจสอบสถานีเรียบร้อยแล้ว ทำการสแกนบัตรเพื่อจบการตรวจสอบ และ operator ก็จะสแกนเพื่อเข้าสู่ ขั้นตอน running ต่อไป

Quick MES 4

เมื่อผลิตเสร็จพนักงานจะสแกน Stop plan จากนั้นข้อมูลผลิตจะถูกบันทึกผลข้อมูลในโปรแกรม MES และ ส่งกลับไปยังระบบ ERP

Quick MES ทำให้คุณรู้ว่าวินาทีไหนที่เครื่องจักรผลิตเงินให้คุณ และวินาทีที่คุณต้องจ่ายเงิน

Dashboard ใน Quick MES นอกจากจะแสดงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรที่เราเรียกกันว่า OEE แล้วยังแสดง ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญอีก 2 ตัวชี้วัดคือ ROA และ COGS ในแบบ Realtime

ด้วยการเขื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ร่วมกับ ระบบ Quick MES คุณจะทราบได้ตลอดเวลาเลยว่าในบรรดาเครื่องจักรที่คุณซื้อมา เครื่องจักรใดวินาทีนี้กำลังทำเงินให้คุณอยู่ด้วยมูลค่าเท่าไหร่ (ผลิตสินค้า) และ เครื่องจักรใดวินาทีนี้ คุณเองกลับต้องจ่ายเงินออกไปให้โดยไม่ก่อให้เกิดรายได้ (ค่าใช้จ่าย) เช่น ค่าไฟ ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีรายงานสรุปสิ้นวัน โดยจะทราบทันทีว่า "วันนี้เครื่องจักรเหล่านี้เป็นเครื่องจักรที่ผลิตเงินให้คุณหรือเป็นค่าจ่ายให้คุณกันแน่"

Quick MES-ROA OEE

7 ประโยชน์ของ Quick MES สำหรับโรงงาน

1. Connectivity & Integrated : ระบบ Quick MES สามารถ Connect หรือ Integrate Data ได้จากระบบอื่น ๆ เช่น ERP , SCADA

Quick MES 1.1

2. Realtime Monitoring and Tracking : เราสามารถติดตามสถานะของเครื่องจักรได้แบบ Realtime และดูประวัติย้อนหลังได้

Quick MES 1.2

3. Reduce Time and Cost : Quick MES สามารถทำให้เราลดเวลาในการรับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ได้รวดเร็วมากขึ้น ทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้เร็วขึ้นและทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง

Quick MES 1.3

4. Focus Problem : Quick MES สามารถ Focus ปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากในแต่ละขั้นตอนจะมีการระบุเหตุของปัญหา ทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น

Quick MES 1.4

5. Increase efficiency : Quick MES ทำให้เราสามารถเพิ่ม Efficiency ได้ เนื่องจากเมื่อเราทราบปัญหาต่าง ๆ ได้รวดเร็วมากขึ้น

Quick MES 1.5

6. Improvement Process : Quick MES มีการเก็บประวัติการทำงานทุกช่วงเวลาที่ทำงาน ทำให้เราสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา และปรับปรุงขึ้นตอนการทำงาน ให้ดีขึ้นได้อย่างง่ายดาย

Quick MES 1.6

7. Data Transparency : Quick MES สามาถทำให้เราทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้แบบชัดเจน และถูกต้องมากขึ้น เนื่องจากการเก็บข้อมูลแบบ Realtime และรับจำนวนการผลิตจากเครื่องจักรโดยตรง

Quick MES 1.7

ก้าวเข้าสู่ Industry 4.0 

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่ 

MES-Screen 2

Quick MES

โรงงานดิจิทัลอาศัยระบบ MES ยกระดับการวางแผนทรัพยากรองค์กร ERP ให้ก้าวลํ้ากว่าที่เคย โดยตลอดทั้งสายการผลิตระบบ MES และอุปกรณ์ IoT ของ Quick ERP จะเข้าไปควบคุมตรวจสอบด้วยความแม่นยำ เพื่อให้โรงงานของคุณทำงานด้วยความเร็วที่ไม่ช้าลงและประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ไปที่หน้าผลิตภัณฑ์
บทความอื่น

Blog ล่าสุด

ข่าวล่าสุด