หลักการเชื่อมโยง Master Data ด้วย Quick MES คือ ? มีอะไรบ้าง ?

หน้าตาและ Concept การเชื่อมโยง Master Data มีอะไรบ้าง มาดูพร้อมกันเลย
หลักการเชื่อมโยง Master Data ด้วย Quick MES

จัดการและควบคุมการผลิตในระดับ Control Room (planning) และ Master Data ด้วย Quick MES

จากบทความก่อนหน้านี้อาจจะทำให้หลาย ๆ คน ทราบถึงความสำคัญของระบบ MES กันมาบ้างแล้ว และวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูตัวอย่างการทำ Implement ให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมการผลิตที่มีหลากหลายประเภท แต่มี Concept การใช้งานระบบที่ไม่ได้แตกต่างกัน

ซึ่งระบบที่เราพูดถึงกันวันนี้ คือ “QUICK MES” หน้าตาและ Concept การเชื่อมโยง Master Data ในระบบที่สำคัญจะมีอะไรบ้าง มาดูพร้อมกันเลย

1. Shift — กะทำการผลิตในแต่ละวัน

ส่วนใหญ่การแบ่งเวลาการทำงานตามนโยบายขององค์กรจะแบ่งเป็น 2 กะหลัก คือ กะเช้าและกะดึก เพื่อรองรับความต้องการในการผลิตและปริมาณที่ต้องทำ โดยบางครั้งอาจมีการเพิ่มเวลาการทำงาานหรือเร่งการผลิต เพื่อให้ทันต่อคำสั่งซื้อที่ระบบได้วางแผนไว้

และในบางครั้งหากเกิดปัญหาหรือมีเหตุขัดข้อง เช่น เครื่องจักรขัดข้อง กะการทำการผลิตหรือการทำงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ดังนั้นการจัดการกะการทำงานที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ

2. Resource Group — กลุ่มทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต

กลุ่มทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต

เบื้องต้นเราต้องรู้ก่อนว่าการผลิตแต่ละประเภทจะต้องใช้เครื่องจักรประเภทไหน มีเครื่องจักรตัวอื่นใดบ้างที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน และมีเครื่องจักรไหนบ้างที่สามารถใช้ผลิตสินค้าแทนกันได้ ดังนั้นจึงทำให้การกำหนดกลุ่มทรัพยากรนั้นมีความสำคัญในการวางแผนการผลิต เพราะจะช่วยให้ฝ่ายวางแผนสามารถจัดการและการดูผลลัพธ์จาการผลิตได้โดยแยกตามกลุ่มทรัพยากร

ดังนั้นก็จะส่งผลให้สามารถประเมินการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากเครื่องจักรขัดข้องหรือเกิดปัญหาระหว่างการผลิต ก็จะสามารถใช้เครื่องจักรในกลุ่มเดียวกันที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ดำเนินการผลิตต่อ ทำให้กระบวนการผลิตไม่หยุดชะงัก

3. Resource — ทรัพยากรที่ใช้สำหรับการผลิต

Resource

ทรัพยากรในการผลิต หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ใช้ในการผลิต เช่น โต๊ะงาน คน รวมทั้งเครื่องจักรด้วย ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถเพิ่ม ลดกำลังการผลิตได้ การใช้ระบบ MES เพื่อติดตามสถานะของทรัพยากรต่าง ๆ

ทำให้องค์กรสามารถวางแผนการผลิต และปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้กระบวนการผลิตมีความต่อเนื่องและมีคุณภาพมากขึ้น

4. Item — ผลิตภัณฑ์ สินค้า วัตถุดิบ หรือสิ่งที่เราจะผลิต

สิ่งที่ผลิตจะถูกจัดหมวดหมู่ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน โดยประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญที่ใช้ในการเปิดใบสั่งผลิต ดังนี้

item
  • Item route

บอกเกี่ยวกับวิธีการผลิต เช่น ทำอะไรบ้างตั้งแต่ต้นจนจบ เวลาที่ใช้ และจำนวนที่ได้

Item route
  • Item BOM (Bill of Materials)

บอกเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ต้องเตรียม ส่วนผสมที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้านั้น ๆ ทำให้เราสามารถจัดการวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บอกเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ต้องเตรียม

5. QR-Code และ Barcode

QR-Code และ Barcode มีบทบาทสำคัญในการสแกนข้อมูลต่าง ๆ เช่น รหัสหัสหน้างาน รหัสพนักงาน รวมทั้งเหตุผลต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต เช่น เครื่องจักรหยุดทำงาน ของเสีย เป็นต้น โดยการทำงานที่หน้างานจะใช้ Scanner เป็นตัวบอกระบบ

ในระบบการจัดการควบคุมการผลิต MES (Manufacturing Execution System) QR-Code และ Barcode มีบทบาทสำคัญในการสแกนข้อมูลต่าง ๆ เช่น รหัสหัสหน้างาน รหัสพนักงาน รวมทั้งเหตุผลต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต เช่น เครื่องจักรหยุดทำงาน ของเสีย เป็นต้น โดยการทำงานที่หน้างานจะใช้ Scanner เป็นตัวบอกระบบ

ข้อมูลที่ได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Master Data เป็นข้อมูลหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงานบนระบบ MES และในบทความหน้าเราจะมาอธิบายถึงการนำเข้า Master Data ไปใช้ในการสร้างแผนการผลิต วางแผนการผลิต ตลอดจนได้มาซึ่งข้อมูลในรูปแบบ Analysis & Report

ก้าวเข้าสู่ Industry 4.0

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

Table of Content