หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังเติบโตในทิศทางที่ดี ถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องให้ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) เข้ามามีบทบาทในองค์กรของคุณ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบว่าระบบ ERP คืออะไร ? รวมไปถึงยังไม่ทราบว่า ERP หมายถึงอะไร ? ทุกข้อสงสัยของคุณที่เกี่ยวข้องกับระบบ ERP จะถูกแถลงไขในบทความนี้ทั้งหมด รวมไปถึงเรื่องราวน่าสนใจต่าง ๆ อย่างเช่น ควรเลือกใช้เครื่องมือไหน ถึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด ความเป็นมาของ ERP เริ่มต้นได้อย่างไร ทุกคำถามเราเตรียมคำตอบเอาไว้ทั้งหมดแล้วในบทความนี้
ERP คืออะไรใน 2 นาที ? สั้น กระชับ ข้อมูลครบ
ERP คืออะไร ?
ระบบ ERP โปรแกรม คือ “ระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กร” ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning เป็นระบบที่เข้ามาช่วยจัดการภาพรวมขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากที่สุด
หน้าที่หลักของ Enterprise Resource Planning
หน้าที่หลักของ ERP คือการรวมศูนย์จัดเก็บข้อมูลไว้ใน Database หลัก เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในองค์กรต้องการใช้ข้อมูล ก็สามารถดึงข้อมูลจาก Database มาใช้งานได้ทันที ช่วยให้สามารถดูแลจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทั้งในส่วนของความสะดวก และช่วยให้ในส่วนของงานบริหารให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น
ประเภทของโปรแกรม ERP
หลังจากได้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ของ ERP ไปมากพอสมควร เรามารู้จักกับรูปแบบการทำงานของระบบนี้กันบ้าง ว่าสามารถแบ่งประเภทการทำงานออกไปได้กี่รูปแบบ แต่ละรูปแบบจะทำงานแตกต่างการอย่างไรบ้าง ในเนื้อหาดังต่อไปนี้
ERP ระบบ Cloud
เริ่มต้นที่ระบบแรกของ ERP เป็นระบบที่นิยมใช้งานกันมากในช่วงเวลานี้ เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่บนโลกใบนี้ ขอเพียงมีอินเทอร์เน็ตเพียงเท่านั้น โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้เป็นอย่างดีภายใน Cloud ซึ่งเป็นไดร์ฟที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้บนอินเทอร์เน็ต สะดวกเป็นอย่างมากในขั้นตอนของการดึงข้อมูลต่าง ๆ นำไปใช้งาน
หากคุณอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Features เพิ่มเติมของ ERP ระบบ Cloud สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ERP ระบบ On-Premise
สำหรับการทำของงาน ERP รูปแบบนี้คือ การติดตั้งระบบเอาไว้ภายในเซิร์ฟเวอร์ขององค์กร มักใช้กับองค์กรใหญ่ ๆ ที่ต้องการเก็บข้อมูลเอาไว้เป็นความลับให้มากที่สุด แม้จะไม่สะดวกเหมือนอย่าง ERP ในระบบ Cloud แต่ในเรื่องของความปลอดภัย ต้องยอมรับเลยว่ามั่นใจได้เกือบ 100% ว่าไม่มีทางรั่วไหลออกไปอย่างแน่นอน
Quick Suggest
หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ
เมื่อใดที่ธุรกิจคุณต้องใช้งาน ERP system ?
นี่คือสัญญาณเตือนแล้วว่าตอนนี้องค์กรของคุณกำลังต้องการระบบ ERP เข้ามาช่วยดูแลจัดการระบบงานให้ดีขึ้น จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
ระบบเดิมไม่สามารถรองรับการเติบโตขององค์กรได้แล้ว
การที่ยังใช้งานระบบเก่า ๆ อยู่ ในที่สุดแล้วเมื่อกาลเวลาผ่านไป องค์กรเติบโตขึ้น สุดท้ายแล้วระบบเหล่านั้นก็จะมาถึงขีดสุด ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ตามการเติบโตขององค์กรแล้ว ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ERP คือตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะระบบสามารถยืดหยุ่นได้ ปรับตัวตามการเติบโตขององค์กรได้อย่างทันท่วงที ด้วยมาตรฐานของระบบ ERP ที่สามารถพัฒนาไปได้ไกลถึงในระดับโลกเกิดความยากลำบากระหว่างความแตกต่างของการใช้งานระบบ
“ความเข้ากันไม่ได้ของระบบ” เป็นปัญหาที่มักเจอได้ในทุก ๆ การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี หากองค์กรของคุณยังเลือกใช้ระบบเดิม ๆ อยู่ ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานยังคงล้าหลัง ไม่สามารถใช้งานร่วมกับระบบใหม่ ๆ ที่สะดวกมากยิ่งขึ้นได้ เมื่อถึงเวลานั้นควรมองหาระบบ Modern ERP ให้องค์กรจะดีที่สุด เพราะช่วยให้งานในทุกส่วนภายในองค์กร สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้รอยต่อ มอบทั้งความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน รวมไปถึงเพิ่มศักยภาพการทำงานให้มากขึ้นไปพร้อม ๆ กันองค์กรไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้
ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของโลกมีการแข่งขันสูงเช่นนี้ ระบบเก่าที่อยู่อาจยังไม่พอ ซึ่งแน่นอนว่า ERP ก็เป็นหนึ่งในเครื่งมือที่คุณควรมี เพราะจะทำให้ลูกค้าได้เล็งเห็นถึงศักยภาพการทำงานขององค์กรที่ทันสมัย รวมไปถึงความรวดเร็วในทุก ๆ ระบบการจัดการ ช่วยให้สามารถตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที จะบอกว่า ERP คือหัวใจของความสำเร็จขององค์กรในตอนนี้ก็ไม่ใช่พูดที่เกินจริงแต่อย่างใด
ERP ช่วยพัฒนาองค์กรได้อย่างไร ?
ทำงานได้เรียลไทม์
ระบบ ERP ในรูปแบบคลาวด์ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูล การดำเนินงานต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ เพิ่มความสะดวกในการทำงาน ลดระยะเวลาในการติดต่อประสานงานส่งต่อข้อมูลได้มากกว่า
ปลอดภัยสูง
ทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลบน Database จะถูกบันทึกไว้ในระบบ สามารถตรวจสอบย้อนหลัง และเรียกซ้ำข้อมูลได้
ลดการทำงานซ้ำซ้อน
ระบบ ERP จะช่วยคุณจัดการงานซ้ำซ้อน ลดระยะเวลา ขั้นตอนการทำงานเอกสาร ให้คุณมีเวลาไปทำงานส่วนที่สำคัญได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เห็นภาพรวมเดียวกัน
เนื่องจากระบบ ERP มีการเชื่อมต่อข้อมูล การทำงานไว้ในระบบเดียว ทำให้พนักงานทุกฝ่าย หรือแม้แต่ผู้บริหารเองก็เห็นภาพรวมขององค์กรเป็นภาพเดียวกัน ช่วยให้ง่ายต่อการวางแผน การตัดสินใจในการดำเนินงาน อีกทั้งยังช่วยลดความผิดพลาด เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจมากขึ้น
ความเสี่ยงที่ต้องเจอเมื่อไม่มีระบบ ERP ?
พลาดโอกาสสำคัญ (Missed opportunities)
การที่มองภาพรวมขององค์กรได้ไม่ครบทุกมุมมอง อาจทำพลาดโอกาสสำคัญที่จะพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าไปมากกว่าเดิมได้
กระบวนการไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ (Inefficient processes)
การใช้กระบวนการรูปแบบเดิม ๆ ที่ช้าและล้าสมัย อาจทำให้ต้องเสียทั้งเงินและเวลา
ระบบบริการลูกค้าทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร (Poor customer service)
นอกจากจะมีตัวเลือกให้เลือกเยอะแล้ว อีกหแน่นอนว่าเมื่อไม่มีฐานข้อมูลกลาง ช่องทางการติดต่อลูกค้าจะเป็นเรื่องที่ลำบากไปในทันที ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถพิชิตใจลูกค้าในระยะยาวได้
ความสามารถในการแข่งขันลดลง (Reduced competitiveness)
การที่ยังใช้ระบบที่ยังล้าหลัง ทำให้ในมุมมองของการแข่งขัน คุณไม่สามารถทัดเทียมกับคู่แข่งที่มีการพัฒนารูปแบบระบบในเวอร์ชั่นล่าสุดได้ทัน
ระบบงานของ ERP (โมดูลของ ERP)
ระบบการทำงาน ERP ส่วนใหญ่จะมีอย่างน้อย 5 ระบบหลัก ดังต่อไปนี้
ระบบจัดการการผลิต
ช่วยให้คุณสามารถตรวจเช็คข้อมูลสินค้าต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าได้ทั้งหมด รวมไปถึงการจัดการในส่วนของการผลิต วัตถุดิบต่าง ๆ การขนส่ง สินค้าคงคลัง โดยข้อมูลที่จำเป็นทุกอย่างจะถูกจัดเก็บไว้ใน Database ซึ่งสามารถตรวจสอบผ่านระบบ ERP ได้ตลอดเวลา
ระบบจัดการทรัพยากรบุคคล
ระบบนี้จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรทุกคนภายในองค์กร ทั้งผลงานการทำงาน การประเมิน ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ของบุคลากรในองค์กร ช่วยให้สามารถคาดคะเนว่าควรรับบุคลากรเพิ่มเมื่อไหร่ รับจำนวนเท่าใด ช่วยการทำงานของฝ่ายจัดการทรัพยากรบุคคล (HR) มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบจัดการการเงิน
ระบบการเงินจะเป็นสิ่งที่ประเมินได้เห็นภาพชัดที่สุด ว่าตอนนี้ธุรกิจของคุณกำลังเดินหน้าไปในทิศทางใด ซึ่งในส่วนนี้ ERP ก็จัดการให้คุณได้อย่างเรียบร้อย ทุกรายรับ-รายจ่ายขององค์กร จะถูกบันทึกเอาไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ว่าสินค้าใดขายแล้วให้ความคุ้มค่ากับองค์กรคุณมากที่สุด เพื่อนำข้อมูลไปต่อยอดในอนาคต
ระบบจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า
ระบบ ERP ยังสามารถช่วยคุณวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลเกี่ยวกับโอกาสในการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าแต่ละราย และคาดคะเนว่าสินค้าแต่ละประเภทเหมาะกับกลุ่มลูกค้าประเภทใด เพื่อสร้างโอกาสการค้าในระยะยาว รวมไปถึงความประทับใจของลูกค้าในเวลาเดียวกัน
ระบบจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ระบบ ERP จัดการห่วงโซ่อุปทานถือเป็นอีกหนึ่งระบบที่สามารถกำหนดเส้นทางขององค์กรของคุณให้ “ก้าวหน้า” หรือ “ถอยหลัง” ได้เลยทีเดียว เพราะระบบ ERP ในส่วนนี้จะคอยรายงานภาพรวมองค์กรของคุณ เช่น ตอนนี้มีการผลิตสินค้ามากน้อยแค่ไหน และในส่วนของผู้ซื้อมี Feed Back อย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าในช่วงเวลานั้น ๆ ควรผลิตสินค้าในจำนวนเท่าใด ถึงจะคุ้มค่ากับองค์กรของคุณมากที่สุด
ขั้นตอนในการขึ้นระบบ ERP (Implementation Process)
หากตอนนี้องค์กรมั่นใจแล้วว่า ERP คือทางออกที่ดีที่สุดของการเติบโต แต่ที่จริงแล้วระบบนี้ก็ไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว มีหลากหลายผู้ให้บริการเป็นอย่างมากที่ให้บริการระบบ ERP ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมเอาปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ประเมินว่าควรต้องเลือกอย่างไร ให้เหมาะกับการใช้งานภายในองค์กรมากที่สุด โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
กำหนดความต้องการของธุรกิจคุณ
ก่อนนำเข้าระบบ ERP เข้ามาใช้ในองค์กร สิ่งแรกที่คุณควรคำนึงก่อนเลยก็คือ จะนำระบบมาใช้งานอย่างไรได้บ้าง จำเป็นต้องเพิ่มในส่วนใดบ้าง ต้องอบรมพนักงานอย่างไรบ้าง และควรมองหาช่องทางที่จะต่อยอดระบบให้สร้างประโยชน์ให้องค์กรให้ได้มากที่สุดศึกษาตัวเลือก
ในตอนนี้ระบบ ERP มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ มีระบบจากผู้ให้บริการทั่วทุกมุมโลก ซึ่งในแต่ละผู้ให้บริการก็มีฟีเจอร์ที่แตกต่างกันออกไป จุดเด่น จุดด้อย ทุกอย่างถูก พัฒนาออกมาได้แตกต่างกัน ซึ่งในส่วนนี้ควรใช้เวลาเลือกให้นานที่สุด เพื่อให้ได้ระบบที่คุณมั่นใจว่าเหมาะกับองค์กรมากที่สุด และจะต้องเติบโตไปพร้อมกับองค์กรของคุณได้ในอนาคตขอราคาและเปรียบเทียบราคา
นอกจากจะมีตัวเลือกให้เลือกเยอะแล้ว อีกหนึ่งจุดที่ควรเลือกให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อระบบ ERP คือในเรื่องของราคา แต่ละผู้ให้บริการมีการเรียกเก็บค่าบริการที่แตกต่างกัน บางเจ้าเรียกเก็บแบบรายปี บางเจ้าเรียกเก็บแบบถาวร และมีบางเจ้าที่ให้ใช้บริการโดยต้องซื้อสินค้าแบบ Add-on เพิ่มเฉพาะส่วน ซึ่งในส่วนนี้ต้องนำหลาย ๆ ผู้ให้บริการมาเปรียบเทียบ มองหาจุดคุ้มทุนให้มากที่สุดก่อนตัดสินใจเลือกซื้อนำเอาระบบเข้ามาใช้
ขั้นตอนสุดท้ายเลยก็คือ การนำเข้าระบบ ERP มาใช้ในองค์กร ซึ่งในส่วนนี้ควรได้รับการบริการจากผู้ให้บริการมืออาชีพเท่านั้น เพราะนอกจากการเซ็ตอัพระบบต่าง ๆ แล้ว ยังต้องมีการอบรมการใช้งานให้พนักงานอีกด้วย ในขั้นตอนนี้ควรเก็บเกี่ยวความรู้ความเข้าใจให้ได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างชำนาญในเร็ววัน
วิธีเลือกระบบ ERP ให้เหมาะสม ?
สอดคล้องกับงบประมาณ
เลือกระบบ ERP ให้สอดคล้องกับงบประมาณที่มี ไม่ควรคำนึงถึงเฉพาะราคาที่ถูก ต้องมองในมุมมองของความคุ้มค่าของคุณภาพที่ได้รับกลับมาอีกด้วย
ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ต้องมองให้ออกว่าหลังจากได้รับระบบ ERP เข้ามาแล้ว องค์กรจะเดินหน้าไปทางใด เพื่อให้สามารถดึงเอาศักยภาพของระบบออกมาใช้งานให้ได้คุ้มค่ามากที่สุด
น่าเชื่อถือ
ต้องเลือก ERP จากผู้ให้บริการที่มีความน่าไว้วางใจ เนื่องจากข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรจะถูกเก็บเอาไว้ภายในฐานข้อมูลกลาง ซึ่งอาจหลุดรอดออกไปได้หากใช้บริการระบบที่ไม่ปลอดภัย
ความเสถียร
คำนึงถึงความเสถียรระหว่างการใช้งานของระบบ ERP มองหาผู้ให้บริการที่สามารถช่วยให้การดำเนินงานขององค์กรของคุณสามารถทำได้อย่างไหลลื่น ระบบไม่ล่ม ไม่จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาระยะยาว
ความเข้ากันได้ของระบบ
ก่อนนำเข้าระบบ ERP เข้าสู่องค์กร อาจต้องลองประเมินก่อนว่าสามารถใช้ร่วมกับระบบเดิมภายในองค์กรไหนได้บ้าง
Quick Suggest
ERP แต่ละแบรนด์มีความแตกต่างกันอย่างไร แบรนด์ไหนดีกว่ากัน? (SAP, Oracle, Microsoft Dynamics 365?)
ระบบ ERP ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-ขนาดกลาง: คำแนะนำในการเลือกและข้อควรระวัง
ตัวอย่างระบบ ERP ในปี 2024
ถึงแม้ว่าระบบ ERP จะเป็นโปรแกรมที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ทั้งในส่วนของฟีเจอร์ ราคา สเกลงาน นับว่าเป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่เลือกอย่างไรให้ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณมากที่สุด นี่คือส่วนสำคัญที่แท้จริง ดังนั้นเราขอแนะนำ 2 โปรแกรม ERP ที่เป็นมาจากต้นสังกัดอย่าง “Microsoft” ซึ่งชื่อนี้การันตีในเรื่องคุณภาพ และความน่าเชื่อถืออย่างแน่นอน โดยมีตัวอย่างโปรแกรมดังต่อไปนี้
หรือชื่อเดิม Dynamics nav เป็นโปรแกรม ERP เหมาะสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจบริการ และงานกลุ่ม Project หรือธุรกิจการผลิตที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ซึ่ง Dynamic 365 BC สามารถจัดการระบบได้อย่างเป็นระเบียบ มีการแบ่งสัดส่วนของโปรแกรมออกอย่างชัดเจน แถมยังสามารถกำหนดบทบาทของผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
หรือชื่อเดิม Dynamics AX โปรแกรม ERP เหมาะสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ หรือเป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อนของข้อมูลสูง ให้บริการงานในส่วนของระบบ ERP ได้อย่างลงตัว ดูแลได้ครบทุกสายงานภายในโปรแกรมเดียว
Quick Suggest
หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ
3. SAP
SAP ERP อีกเจ้าหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปี 2024 ที่มาพร้อมเทคโนโลยีอัจฉริยะ ตอบโจทย์การทำธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างครอบคลุม
4. Oracle
โปรแกรม ERP หนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ นั่นก็คือ Oracle ซึ่งเป็นโปรแกรมค่อนข้างยืดหยุ่นต่อการใช้งานของผู้ใช้ อีกทั้งยังสามารถช่วยบริหารงานขององค์กรได้ทุกขนาดอีกด้วย
5. Odoo
Odoo เป็น ERP อีกเจ้าหนึ่งที่เหมาะสำหรับการทำงานยุคดิจิทัล มาพร้อมฟังก์ชันมากมายที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการองค์กรได้อย่างค่อนข้างครอบคลุม
หากคุณมั่นใจแล้วว่าองค์กรของคุณพร้อมจะก้าวไปข้างหน้า อย่าลืมมองหาระบบ ERP ดี ๆ มาไว้ในองค์กร เพราะว่าการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จะต้องอาศัยการบริหารที่ทั่วถึง การใช้ระบบ ERP มีข้อดีคือ ช่วยทลายกำแพงของการผสานงานลงได้ในพริบตา คุณสามารถดำเนินการทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว แถมยังเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกทุกอย่างในองค์กรของคุณได้ทั้งหมด ในส่วนของค่าใช้จ่าย ระบบ ERP ก็มีหลากหลายโปรแกรมให้คุณเลือกใช้ โดยราคาก็แตกต่างกันออกไปตามฟีเจอร์ที่ได้รับ เลือกให้เหมาะกับองค์กรของคุณ รับประกันว่าคุณจะไม่เสียดายในภายหลังอย่างแน่นอน
Quick Suggest
หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ
จุดเริ่มต้นระบบ ERP
ระบบ MRP
ระบบ MRP (Manufacturing Resource Planning) นับว่าเป็นแนวคิดตั้งต้นของ ERP ก็ว่าได้ มีแหล่งกำเนิดเดียวกันนั่นก็คือสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มต้นแนวคิดนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 โดยวัตถุประสงค์ของแนวคิดนี้คือ บริหารในส่วนของการสั่งซื้อวัตถุดิบ ให้เหมาะสมกับจำนวนสินค้าที่ต้องผลิต โดยสามารถระบุอย่างชัดเจนว่า หากต้องการผลิตสินค้าจำนวนเท่าไหร่ จะต้องสั่งซื้อวัตถุดิบในจำนวนเท่าไหร่ นับว่าเป็นแนวคิดที่สามารถยกระดับประสิทธิภาพของการผลิต และการสั่งซื้อได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
ระบบ Closed Loop MRP
ช่วงเวลาถัดมาอีก 10 ปี ก็ได้มีการพัฒนาแนวคิดที่เรียกว่า Closed Loop MRP (Capacity Requirement Planning) เป็นการปรับปรุงแนวคิดเดิมอย่าง MRP ให้ดีขึ้น โดยเพิ่มในส่วนของการป้อนข้อมูลการผลิตจริง กลับเข้าไปในฐานข้อมูล รวมถึงเพิ่มแนวคิดในเรื่องของความต้องการกำลังผลิตเพิ่มเข้าไป นับว่าเป็นการปิดจุดบอดเดิมของระบบ MRP ออกไปจนหมด นับว่าเป็นก้าวสำคัญก่อนพัฒนามาเป็น ERP เลยก็ว่าได้
ระบบ MRP II
ในช่วงปี ค.ศ. 1980 ก็ได้พัฒนาแนวคิดให้พัฒนาขึ้นไปอีก 1 ระดับ กลายเป็น MRP II (Manufacturing Resource Planning) ซึ่งในระบบนี้จะเริ่มมีการนำเอาส่วนอื่น ๆ ในองค์กรเข้ามามีบทบาทในแนวคิดเพิ่มมากขึ้น ทั้งงานฝ่ายบัญชี ฝ่ายบุคคล ฝ่ายการขาย และฝ่ายสินค้าคงคลัง ทำให้ทุกอย่างเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเรื่อย ๆ
และหลังจากนั้นอีก 10 ปี นั่นก็คือปี ค.ศ. 1990 ก็ถือกำเนิดแนวคิดแบบ ERP ขึ้นมานั่นเอง
บทส่งท้าย
สุดท้ายนี้สำหรับผู้ประกอบการ หากตอนนี้คุณกำลังประสบปัญหา การดำเนินงานที่ไม่ต่อเนื่อง มีช่องโหว่จากระบบการทำงานเดิม ๆ ที่ยังล้าสมัยอยู่ ระบบ ERP อาจจะเป็นทางออกของปัญหาที่คุณกำลังประสบอยู่ในตอนนี้ อย่างไรก็ตามคุณต้องมองหาระบบที่เหมาะกับองค์กร ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ถี่ถ้วน หรือปรึกษาเกี่ยวกับระบบ ERP ที่ Quick ERP
ก้าวเข้าสู่ Digital Business
ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่