วิธีการนำ Master Data สร้างใบสั่งผลิต ทำอย่างไร มีกี่รูปแบบ

วันนี้เราจะดูในส่วนของการนำ Master Data ไปสร้างใบสั่งผลิต ไปถึงการวางแผนการผลิต จนกระทั่งติดตามผลลัพธ์การผลิต
วิธีการนำ Master Data สร้างใบสั่งผลิต ทำอย่างไร มีกี่รูปแบบ

จัดการและควบคุมการผลิตในระดับ Control Room (planning) และ Master Data ด้วย

จากบทความก่อนหน้านี้ ทุกคนคงได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ Master Data อย่างการแบ่งกะการทำงานหรือการผลิต การกำหนดกลุ่มเครื่องจักร รายละเอียดผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ รวมถึงการจัดการกับ Waiting Time ที่เกิดขึ้นจากการผลิต และวันนี้เราจะดูในส่วนของการนำ Master Data ไปสร้างใบสั่งผลิต ไปถึงการวางแผนการผลิต จนกระทั่งติดตามผลลัพธ์การผลิต

ระบบสร้างใบสั่งผลิตมีอะไรบ้าง ?

ใบสั่งผลิตถูกสร้างได้จาก 2 ระบบ ดังนี้

  • 1. สร้างโดยตรงจากระบบ MES
  • 2. สร้างจากการส่งข้อมูลจากระบบ ERP หรือโปรแกรมอื่น ๆ

ส่วนประกอบสำคัญของใบสั่งผลิต

โดยส่วนประกอบสำคัญของใบสั่งผลิตประกอบไปด้วย

  • 1. เลขที่ใบสั่งผลิต (Production Number)
  • 2. รหัสสินค้าที่ต้องการผลิต (Item Code) รวมถึงขั้นตอนการผลิต (Item Route)
  • 3. จำนวนที่ต้องการผลิต (Plan Quantity)

ขั้นตอนถัดมาหลังจากได้รับใบสั่งผลิต คือ การเริ่มวางแผนการผลิต อันดับแรกเราต้องเปิดกะการทำงานเสียก่อน โดยกำหนดกะการทำงาน (Shift) ผูกกับกลุ่มทรัพยากร (Resource Group) และหลังจากเสร็จสิ้นจึงเลือกทรัพยากร (Resource) ที่จะใช้ในการผลิต

ซึ่งกระบวนการวางแผนนี้จะช่วยตรวจสอบและทำให้เห็นกำลังการผลิตในแต่ละวัน และยังสามารถเพิ่มหรือลดเวลาการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของการผลิตย่อยแต่ละ Resource ได้อีกด้วย

รูปแบบการขึ้นงานมีกี่ประเภท

การจัดการและควบคุมการผลิตด้วย Quick MES สามารถแบ่งรูปแบบการขึ้นงานเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

  • การขึ้นงานแบบ 1:1

ความหมาย: 1 จุดการทำงานเชื่อมต่อกับ 1 เครื่องจักรและใช้กับ 1 ใบสั่งผลิต (เครื่องใครเครื่องมัน)

เหมาะสำหรับ: เครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ หรือมีการทำงานแบบต่อเนื่อง

  • การขึ้นงานแบบ 1:6 (เครื่องจักร)

ความหมาย: 1 จุดการทำงานเชื่อมต่อกับ 6 เครื่องจักรและใช้กับ 6 ใบสั่งผลิต

เหมาะสำหรับ: พื้นที่น้อย มีข้อจำกัดในการสแกนขึ้น-ลงงาน เพราะมีหน้าจอสแกนเพียงหน้าจอเดียว

  • การขึ้นงานแบบ 1:6 (คน)

ความหมาย: 1 จุดการทำงานเชื่อมต่อกับ 6 คนทำงานและใช้กับ 6 ใบสั่งผลิต

เหมาะสำหรับ: งานที่ต้องใช้แรงงานคนเท่านั้น เช่น ติดกาว แต่งผิว ประกอบสินค้า เป็นต้น

  • การขึ้นงานกลุ่ม

ความหมาย: จุดการทำงานเชื่อมต่อกับ 1 เครื่องจักรและใช้กับหลายใบสั่งผลิต

เหมาะสำหรับ: งานที่สามารถทำร่วมกันได้ เช่น งานอบ พ่นสี ตัด เจาะ เป็นต้น

จากข้อมูลและรูปภาพอธิบายข้างต้น ในหนึ่งอุตสาหกรรมอาจจะมีการทำงานทั้ง 4 รูปแบบ หรือมีรูปแบบการทำงานอื่น ๆ อีกก็สามารถเป็นไปได้

การที่จะสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดจากการผลิตได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น เวลาการทำงาน จำนวนการผลิต เหตุผลการหยุดการรอในการทำงาน จะช่วยให้การบันทึกข้อมูลมีความถูกต้องและแม่นยำ และจะส่งผลให้การวิเคราะห์ การประมวลผล และการวางแผนการผลิตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

และทั้งหมดนี้คือโครงสร้างของระบบ MES และการเชื่อมโยงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เราได้รวบรวมมาให้ทุกคนได้อ่านและรู้จักระบบ MES มากยิ่งขึ้น

ก้าวเข้าสู่ Digital Business

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

Table of Content
Search