ระบบ ERP คืออะไร [อัปเดต2024] หาคำตอบอย่างละเอียดได้ในบทความนี้

โปรแกรม ERP คืออะไร ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) หมายถึงอะไร มีอะไรบ้าง สำคัญกับองค์กรอย่างไร
erp blog 2

ระบบ ERP คืออะไร ? มีความสำคัญมากน้อยเพียงใดกับธุรกิจของคุณ

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังเติบโตในทิศทางที่ดี ถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องให้ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) เข้ามามีบทบาทในองค์กรของคุณ สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบว่าระบบ ERP คืออะไร ? รวมไปถึงยังไม่ทราบว่า ERP หมายถึงอะไร ? ทุกข้อสงสัยของคุณที่เกี่ยวข้องกับระบบ ERP จะถูกแถลงไขในบทความนี้ทั้งหมด รวมไปถึงเรื่องราวน่าสนใจต่าง ๆ อย่างเช่น ควรเลือกใช้เครื่องมือไหน ถึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด ความเป็นมาของ ERP เริ่มต้นได้อย่างไร ทุกคำถามเราเตรียมคำตอบเอาไว้ทั้งหมดแล้วในบทความนี้

ทางลัด: เลือกอ่านเฉพาะเรื่องที่อยากรู้

ERP คืออะไร ย่อมาจากอะไร ? รู้จักกับตัวช่วยทางธุรกิจของคุณได้ที่นี่

ERP โปรแกรม คือ “ระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กร” ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning เป็นระบบที่เข้ามาช่วยจัดการภาพรวมขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากที่สุด 

erp blog 1

หน้าที่หลักของ ERP ในยุคดิจิทัล

หน้าที่หลักของ ERP คือการรวมศูนย์จัดเก็บข้อมูลไว้ใน Database หลัก เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในองค์กรต้องการใช้ข้อมูล ก็สามารถดึงข้อมูลจาก Database มาใช้งานได้ทันที ช่วยให้สามารถดูแลจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทั้งในส่วนของความสะดวก และช่วยให้ในส่วนของงานบริหารให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น

เมื่อใดที่ธุรกิจของคุณต้องใช้งาน ERP ?

นี่คือสัญญาณเตือนแล้วว่าตอนนี้องค์กรของคุณกำลังต้องการระบบ ERP เข้ามาช่วยดูแลจัดการระบบงานให้ดีขึ้น จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • ระบบเดิมไม่สามารถรองรับการเติบโตขององค์กรได้แล้ว

การที่ยังใช้งานระบบเก่า ๆ อยู่ ในที่สุดแล้วเมื่อกาลเวลาผ่านไป องค์กรเติบโตขึ้น สุดท้ายแล้วระบบเหล่านั้นก็จะมาถึงขีดสุด ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ตามการเติบโตขององค์กรแล้ว ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ERP คือตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะระบบสามารถยืดหยุ่นได้ ปรับตัวตามการเติบโตขององค์กรได้อย่างทันท่วงที ด้วยมาตรฐานของระบบ ERP ที่สามารถพัฒนาไปได้ไกลถึงในระดับโลก

  • เกิดความยากลำบากระหว่างความแตกต่างของการใช้งานระบบ

“ความเข้ากันไม่ได้ของระบบ” เป็นปัญหาที่มักเจอได้ในทุก ๆ การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี หากองค์กรของคุณยังเลือกใช้ระบบเดิม ๆ อยู่ ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานยังคงล้าหลัง ไม่สามารถใช้งานร่วมกับระบบใหม่ ๆ ที่สะดวกมากยิ่งขึ้นได้ เมื่อถึงเวลานั้นควรมองหาระบบ Modern ERP ให้องค์กรจะดีที่สุด เพราะช่วยให้งานในทุกส่วนภายในองค์กร สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้รอยต่อ มอบทั้งความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน รวมไปถึงเพิ่มศักยภาพการทำงานให้มากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน

  • องค์กรไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้

ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของโลกมีการแข่งขันสูงเช่นนี้ ระบบเก่าที่อยู่อาจยังไม่พอ ซึ่งแน่นอนว่า ERP ก็เป็นหนึ่งในเครื่งมือที่คุณควรมี เพราะจะทำให้ลูกค้าได้เล็งเห็นถึงศักยภาพการทำงานขององค์กรที่ทันสมัย รวมไปถึงความรวดเร็วในทุก ๆ ระบบการจัดการ ช่วยให้สามารถตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที จะบอกว่า ERP คือหัวใจของความสำเร็จขององค์กรในตอนนี้ก็ไม่ใช่พูดที่เกินจริงแต่อย่างใด

ประโยชน์ของ ERP ต่อองค์กร

  • ทำงานได้เรียลไทม์

ระบบ ERP ในรูปแบบคลาวด์ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูล  การดำเนินงานต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ เพิ่มความสะดวกในการทำงาน ลดระยะเวลาในการติดต่อประสานงานส่งต่อข้อมูลได้มากกว่า

  • ปลอดภัยสูง

ทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลบน Database จะถูกบันทึกไว้ในระบบ สามารถตรวจสอบย้อนหลัง และเรียกซ้ำข้อมูลได้

  • ลดการทำงานซ้ำซ้อน

ระบบ ERP จะช่วยคุณจัดการงานซ้ำซ้อน ลดระยะเวลา ขั้นตอนการทำงานเอกสาร ให้คุณมีเวลาไปทำงานส่วนที่สำคัญได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

  • เห็นภาพรวมเดียวกัน

เนื่องจากระบบ ERP มีการเชื่อมต่อข้อมูล การทำงานไว้ในระบบเดียว ทำให้พนักงานทุกฝ่าย หรือแม้แต่ผู้บริหารเองก็เห็นภาพรวมขององค์กรเป็นภาพเดียวกัน ช่วยให้ง่ายต่อการวางแผน การตัดสินใจในการดำเนินงาน อีกทั้งยังช่วยลดความผิดพลาด เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจมากขึ้น

ความเสี่ยงหากคุณไม่มีระบบ ERP

  • พลาดโอกาสสำคัญ (Missed opportunities)

การที่มองภาพรวมขององค์กรได้ไม่ครบทุกมุมมอง อาจทำพลาดโอกาสสำคัญที่จะพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าไปมากกว่าเดิมได้

  • กระบวนการไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ (Inefficient processes)

การใช้กระบวนการรูปแบบเดิม ๆ ที่ช้าและล้าสมัย อาจทำให้ต้องเสียทั้งเงินและเวลา

  • ระบบบริการลูกค้าทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร (Poor customer service)

นอกจากจะมีตัวเลือกให้เลือกเยอะแล้ว อีกหแน่นอนว่าเมื่อไม่มีฐานข้อมูลกลาง ช่องทางการติดต่อลูกค้าจะเป็นเรื่องที่ลำบากไปในทันที ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถพิชิตใจลูกค้าในระยะยาวได้

  • ความสามารถในการแข่งขันลดลง (Reduced competitiveness)

การที่ยังใช้ระบบที่ยังล้าหลัง ทำให้ในมุมมองของการแข่งขัน คุณไม่สามารถทัดเทียมกับคู่แข่งที่มีการพัฒนารูปแบบระบบในเวอร์ชั่นล่าสุดได้ทัน

ระบบงาน ERP ประกอบด้วยระบบอะไรบ้าง

ระบบการทำงาน ERP ส่วนใหญ่จะมีอย่างน้อย 5 ระบบหลัก ดังต่อไปนี้

What is CRM1
  • 1. ระบบจัดการการผลิต

ช่วยให้คุณสามารถตรวจเช็คข้อมูลสินค้าต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าได้ทั้งหมด รวมไปถึงการจัดการในส่วนของการผลิต วัตถุดิบต่าง ๆ การขนส่ง สินค้าคงคลัง โดยข้อมูลที่จำเป็นทุกอย่างจะถูกจัดเก็บไว้ใน Database ซึ่งสามารถตรวจสอบผ่านระบบ ERP ได้ตลอดเวลา

  • 2. ระบบจัดการทรัพยากรบุคคล

ระบบนี้จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรทุกคนภายในองค์กร ทั้งผลงานการทำงาน การประเมิน ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ของบุคลากรในองค์กร ช่วยให้สามารถคาดคะเนว่าควรรับบุคลากรเพิ่มเมื่อไหร่ รับจำนวนเท่าใด ช่วยการทำงานของฝ่ายจัดการทรัพยากรบุคคล (HR) มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • 3. ระบบจัดการการเงิน

ระบบการเงินจะเป็นสิ่งที่ประเมินได้เห็นภาพชัดที่สุด ว่าตอนนี้ธุรกิจของคุณกำลังเดินหน้าไปในทิศทางใด ซึ่งในส่วนนี้ ERP ก็จัดการให้คุณได้อย่างเรียบร้อย ทุกรายรับ-รายจ่ายขององค์กร จะถูกบันทึกเอาไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ว่าสินค้าใดขายแล้วให้ความคุ้มค่ากับองค์กรคุณมากที่สุด เพื่อนำข้อมูลไปต่อยอดในอนาคต

  • 4. ระบบจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า

ระบบ ERP ยังสามารถช่วยคุณวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลเกี่ยวกับโอกาสในการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าแต่ละราย และคาดคะเนว่าสินค้าแต่ละประเภทเหมาะกับกลุ่มลูกค้าประเภทใด เพื่อสร้างโอกาสการค้าในระยะยาว รวมไปถึงความประทับใจของลูกค้าในเวลาเดียวกัน

  • 5. ระบบจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ระบบ ERP จัดการห่วงโซ่อุปทานถือเป็นอีกหนึ่งระบบที่สามารถกำหนดเส้นทางขององค์กรของคุณให้ “ก้าวหน้า” หรือ “ถอยหลัง” ได้เลยทีเดียว เพราะระบบ ERP ในส่วนนี้จะคอยรายงานภาพรวมองค์กรของคุณ เช่น ตอนนี้มีการผลิตสินค้ามากน้อยแค่ไหน และในส่วนของผู้ซื้อมี Feed Back อย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าในช่วงเวลานั้น ๆ ควรผลิตสินค้าในจำนวนเท่าใด ถึงจะคุ้มค่ากับองค์กรของคุณมากที่สุด 

โปรแกรม ERP แบ่งออกตามรูปแบบการทำงานได้กี่ประเภท อะไรบ้าง ?

หลังจากได้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ของ ERP ไปมากพอสมควร เรามารู้จักกับรูปแบบการทำงานของระบบนี้กันบ้าง ว่าสามารถแบ่งประเภทการทำงานออกไปได้กี่รูปแบบ แต่ละรูปแบบจะทำงานแตกต่างการอย่างไรบ้าง ในเนื้อหาดังต่อไปนี้

  • ERP ระบบ Cloud

เริ่มต้นที่ระบบแรกของ ERP เป็นระบบที่นิยมใช้งานกันมากในช่วงเวลานี้ เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่บนโลกใบนี้ ขอเพียงมีอินเทอร์เน็ตเพียงเท่านั้น โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้เป็นอย่างดีภายใน Cloud ซึ่งเป็นไดร์ฟที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้บนอินเทอร์เน็ต สะดวกเป็นอย่างมากในขั้นตอนของการดึงข้อมูลต่าง ๆ นำไปใช้งาน

หากคุณอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Features เพิ่มเติมของ ERP ระบบ Cloud สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

Quick Suggest

หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ

  • ERP ระบบ On-Premise

สำหรับการทำของงาน ERP รูปแบบนี้คือ การติดตั้งระบบเอาไว้ภายในเซิร์ฟเวอร์ขององค์กร มักใช้กับองค์กรใหญ่ ๆ ที่ต้องการเก็บข้อมูลเอาไว้เป็นความลับให้มากที่สุด แม้จะไม่สะดวกเหมือนอย่าง ERP ในระบบ Cloud แต่ในเรื่องของความปลอดภัย ต้องยอมรับเลยว่ามั่นใจได้เกือบ 100% ว่าไม่มีทางรั่วไหลออกไปอย่างแน่นอน

การดำเนินการนำระบบ ERP มาใช้ในธุรกิจ (Implementation steps)

หากตอนนี้องค์กรมั่นใจแล้วว่า ERP คือทางออกที่ดีที่สุดของการเติบโต แต่ที่จริงแล้วระบบนี้ก็ไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว มีหลากหลายผู้ให้บริการเป็นอย่างมากที่ให้บริการระบบ ERP ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมเอาปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ประเมินว่าควรต้องเลือกอย่างไร ให้เหมาะกับการใช้งานภายในองค์กรมากที่สุด โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

erp blog Implementation steps
  • กำหนดความต้องการของธุรกิจคุณ

ก่อนนำเข้าระบบ ERP เข้ามาใช้ในองค์กร สิ่งแรกที่คุณควรคำนึงก่อนเลยก็คือ จะนำระบบมาใช้งานอย่างไรได้บ้าง จำเป็นต้องเพิ่มในส่วนใดบ้าง ต้องอบรมพนักงานอย่างไรบ้าง และควรมองหาช่องทางที่จะต่อยอดระบบให้สร้างประโยชน์ให้องค์กรให้ได้มากที่สุด

  • ศึกษาตัวเลือก

ในตอนนี้ระบบ ERP มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ มีระบบจากผู้ให้บริการทั่วทุกมุมโลก ซึ่งในแต่ละผู้ให้บริการก็มีฟีเจอร์ที่แตกต่างกันออกไป จุดเด่น จุดด้อย ทุกอย่างถูก พัฒนาออกมาได้แตกต่างกัน ซึ่งในส่วนนี้ควรใช้เวลาเลือกให้นานที่สุด เพื่อให้ได้ระบบที่คุณมั่นใจว่าเหมาะกับองค์กรมากที่สุด และจะต้องเติบโตไปพร้อมกับองค์กรของคุณได้ในอนาคต

  • ขอราคาและเปรียบเทียบราคา

นอกจากจะมีตัวเลือกให้เลือกเยอะแล้ว อีกหนึ่งจุดที่ควรเลือกให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อระบบ ERP คือในเรื่องของราคา แต่ละผู้ให้บริการมีการเรียกเก็บค่าบริการที่แตกต่างกัน บางเจ้าเรียกเก็บแบบรายปี บางเจ้าเรียกเก็บแบบถาวร และมีบางเจ้าที่ให้ใช้บริการโดยต้องซื้อสินค้าแบบ Add-on เพิ่มเฉพาะส่วน ซึ่งในส่วนนี้ต้องนำหลาย ๆ ผู้ให้บริการมาเปรียบเทียบ มองหาจุดคุ้มทุนให้มากที่สุดก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

  • นำเอาระบบเข้ามาใช้

ขั้นตอนสุดท้ายเลยก็คือ การนำเข้าระบบ ERP มาใช้ในองค์กร ซึ่งในส่วนนี้ควรได้รับการบริการจากผู้ให้บริการมืออาชีพเท่านั้น เพราะนอกจากการเซ็ตอัพระบบต่าง ๆ แล้ว ยังต้องมีการอบรมการใช้งานให้พนักงานอีกด้วย ในขั้นตอนนี้ควรเก็บเกี่ยวความรู้ความเข้าใจให้ได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างชำนาญในเร็ววัน

วิธีการเลือกระบบ ERP เลือกยังไงให้ตรงความต้องการขององค์กรมากที่สุด

erp dynamics sap Oracle
  • สอดคล้องกับงบประมาณ

เลือกระบบ ERP ให้สอดคล้องกับงบประมาณที่มี ไม่ควรคำนึงถึงเฉพาะราคาที่ถูก ต้องมองในมุมมองของความคุ้มค่าของคุณภาพที่ได้รับกลับมาอีกด้วย

  • ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

ต้องมองให้ออกว่าหลังจากได้รับระบบ ERP เข้ามาแล้ว องค์กรจะเดินหน้าไปทางใด เพื่อให้สามารถดึงเอาศักยภาพของระบบออกมาใช้งานให้ได้คุ้มค่ามากที่สุด

  • น่าเชื่อถือ

ต้องเลือก ERP จากผู้ให้บริการที่มีความน่าไว้วางใจ เนื่องจากข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรจะถูกเก็บเอาไว้ภายในฐานข้อมูลกลาง ซึ่งอาจหลุดรอดออกไปได้หากใช้บริการระบบที่ไม่ปลอดภัย

  • ความเสถียร

คำนึงถึงความเสถียรระหว่างการใช้งานของระบบ ERP มองหาผู้ให้บริการที่สามารถช่วยให้การดำเนินงานขององค์กรของคุณสามารถทำได้อย่างไหลลื่น ระบบไม่ล่ม ไม่จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาระยะยาว

  • ความเข้ากันได้ของระบบ

ก่อนนำเข้าระบบ ERP เข้าสู่องค์กร อาจต้องลองประเมินก่อนว่าสามารถใช้ร่วมกับระบบเดิมภายในองค์กรไหนได้บ้าง

Quick Suggest

ERP แต่ละแบรนด์มีความแตกต่างกันอย่างไร แบรนด์ไหนดีกว่ากัน? (SAP, Oracle, Microsoft Dynamics 365?)

ระบบ ERP ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-ขนาดกลาง: คำแนะนำในการเลือกและข้อควรระวัง

ตัวอย่างระบบ ERP ที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลานี้

BC FO 1 1024x363 1

ถึงแม้ว่าระบบ ERP จะเป็นโปรแกรมที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ทั้งในส่วนของฟีเจอร์ ราคา สเกลงาน นับว่าเป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่เลือกอย่างไรให้ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณมากที่สุด นี่คือส่วนสำคัญที่แท้จริง ดังนั้นเราขอแนะนำ 2 โปรแกรม ERP ที่เป็นมาจากต้นสังกัดอย่าง “Microsoft” ซึ่งชื่อนี้การันตีในเรื่องคุณภาพ และความน่าเชื่อถืออย่างแน่นอน โดยมีตัวอย่างโปรแกรมดังต่อไปนี้

เป็นโปรแกรม ERP เหมาะสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจบริการ และงานกลุ่ม Project หรือธุรกิจการผลิตที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ซึ่ง Dynamic 365 BC สามารถจัดการระบบได้อย่างเป็นระเบียบ มีการแบ่งสัดส่วนของโปรแกรมออกอย่างชัดเจน แถมยังสามารถกำหนดบทบาทของผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

Business Central 1

Quick Suggest

หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ

โปรแกรม ERP เหมาะสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ หรือเป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อนของข้อมูลสูง ให้บริการงานในส่วนของระบบ ERP ได้อย่างลงตัว ดูแลได้ครบทุกสายงานภายในโปรแกรมเดียว

finance and operations 1

หากคุณมั่นใจแล้วว่าองค์กรของคุณพร้อมจะก้าวไปข้างหน้า อย่าลืมมองหาระบบ ERP ดี ๆ มาไว้ในองค์กร เพราะว่าการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จะต้องอาศัยการบริหารที่ทั่วถึง การใช้ระบบ ERP มีข้อดีคือ ช่วยทลายกำแพงของการผสานงานลงได้ในพริบตา คุณสามารถดำเนินการทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว แถมยังเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกทุกอย่างในองค์กรของคุณได้ทั้งหมด ในส่วนของค่าใช้จ่าย ระบบ ERP ก็มีหลากหลายโปรแกรมให้คุณเลือกใช้ โดยราคาก็แตกต่างกันออกไปตามฟีเจอร์ที่ได้รับ เลือกให้เหมาะกับองค์กรของคุณ รับประกันว่าคุณจะไม่เสียดายในภายหลังอย่างแน่นอน

ระบบ ERP หมายถึงอะไร มีวิวัฒนาการอย่างไรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ?

ก่อนจะนำไปสู่บทส่งท้าย จากข้อมูลข้างต้นอาจทำให้หลาย ๆ คนรู้จัก ERP กันพอสมควรแล้ว แต่ทุกคนสงสัยกันไหมคะว่าก่อนจะมาเป็นระบบ ERP จนถึงปัจจุบัน มีการพัฒนาอะไรมาแล้วบ้าง และ ERP ยุคแรกเลยเป็นอย่างไร เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ วันนี้เราจะมาอธิบายให้ทุกคนรู้เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยกันค่ะ

  • ระบบ MRP

ระบบ MRP (Manufacturing Resource Planning) นับว่าเป็นแนวคิดตั้งต้นของ ERP ก็ว่าได้ มีแหล่งกำเนิดเดียวกันนั่นก็คือสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มต้นแนวคิดนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 โดยวัตถุประสงค์ของแนวคิดนี้คือ บริหารในส่วนของการสั่งซื้อวัตถุดิบ ให้เหมาะสมกับจำนวนสินค้าที่ต้องผลิต โดยสามารถระบุอย่างชัดเจนว่า หากต้องการผลิตสินค้าจำนวนเท่าไหร่ จะต้องสั่งซื้อวัตถุดิบในจำนวนเท่าไหร่ นับว่าเป็นแนวคิดที่สามารถยกระดับประสิทธิภาพของการผลิต และการสั่งซื้อได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

  • ระบบ Closed Loop MRP

ช่วงเวลาถัดมาอีก 10 ปี ก็ได้มีการพัฒนาแนวคิดที่เรียกว่า Closed Loop MRP (Capacity Requirement Planning) เป็นการปรับปรุงแนวคิดเดิมอย่าง MRP ให้ดีขึ้น โดยเพิ่มในส่วนของการป้อนข้อมูลการผลิตจริง กลับเข้าไปในฐานข้อมูล รวมถึงเพิ่มแนวคิดในเรื่องของความต้องการกำลังผลิตเพิ่มเข้าไป นับว่าเป็นการปิดจุดบอดเดิมของระบบ MRP ออกไปจนหมด นับว่าเป็นก้าวสำคัญก่อนพัฒนามาเป็น ERP เลยก็ว่าได้

  • ระบบ MRP II

ในช่วงปี ค.ศ. 1980 ก็ได้พัฒนาแนวคิดให้พัฒนาขึ้นไปอีก 1 ระดับ กลายเป็น MRP II (Manufacturing Resource Planning) ซึ่งในระบบนี้จะเริ่มมีการนำเอาส่วนอื่น ๆ ในองค์กรเข้ามามีบทบาทในแนวคิดเพิ่มมากขึ้น ทั้งงานฝ่ายบัญชี ฝ่ายบุคคล ฝ่ายการขาย และฝ่ายสินค้าคงคลัง ทำให้ทุกอย่างเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเรื่อย ๆ

และหลังจากนั้นอีก 10 ปี นั่นก็คือปี ค.ศ. 1990 ก็ถือกำเนิดแนวคิดแบบ ERP ขึ้นมานั่นเอง

บทส่งท้าย

สุดท้ายนี้สำหรับผู้ประกอบการ หากตอนนี้คุณกำลังประสบปัญหา การดำเนินงานที่ไม่ต่อเนื่อง มีช่องโหว่จากระบบการทำงานเดิม ๆ ที่ยังล้าสมัยอยู่ ระบบ ERP อาจจะเป็นทางออกของปัญหาที่คุณกำลังประสบอยู่ในตอนนี้ อย่างไรก็ตามคุณต้องมองหาระบบที่เหมาะกับองค์กร ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ถี่ถ้วน หรือปรึกษาเกี่ยวกับระบบ ERP ที่ Quick ERP

Quick ERP Microsoft Certified 1

ก้าวเข้าสู่ Digital Business

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

Search
microsoft partner of the year 2024 Quick ERP

Quick ERP รับรางวัล Partner of the Year Awards 2023 – Dynamics 365 Finance

รางวัล 3 ปีซ้อน ได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินธุรกิจในระดับสูงตลอดปีที่ผ่านมา ตลอดจนมีกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดที่สมบูรณ์และไม่เหมือนใคร