Ecosystem คืออะไร ช่วยทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขันจริงหรือไม่ ?

ค้นพบความหมายของ Ecosystem ในธุรกิจและเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จในธุรกิจของคุณ ทำความเข้าใจ Ecosystem อย่างละเอียด!
ecosystem cover
ทางลัด: เลือกอ่านเฉพาะเรื่องที่อยากรู้

Ecosystem คืออะไร

Ecosystem หรือ “ Ecosystem Business ” เป็นรูปแบบธุรกิจอีกหนึ่งประเภท ที่จำลองเอาระบบนิเวศตามธรรมชาติ มาปรับใช้กับการทำธุรกิจ โดยมีแนวคิดเบื้องต้นคือ “การถ้อยทีถ้อยอาศัย” กล่าวคือ เป็นการร่วมมือกันของ 2 องค์กรเป็นอย่างน้อย เพื่ออาศัยประโยชน์ของกันและกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงที่สุดต่อทุก ๆ ฝ่าย ซึ่งจะไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันในธุรกิจระบบนี้ ถือว่าเป็นแนวความคิดรูปแบบใหม่ ที่แตกต่างจากแนวคิดเดิม ๆ อย่างสิ้นเชิง

เนื่องจากในอดีต การทำธุรกิจจะเป็นการทำธุรกิจแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีการถ้อยทีถ้อยอาศัย มีเพียงการแข่งขันเพียงเท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้หลาย ๆ บริษัทต้องพบกับทางตัน กลับกันในปัจจุบันเริ่มมีการพึ่งพาอาศัย “พาร์ทเนอร์” กันมากยิ่งขึ้น การแข่งขันจะไม่ใช้การแข่งกันแบบหัวเดียวกระเทียมลีบอีกต่อไป จะเป็นการร่วมมือกันเพื่อเพิ่มกำลังการแข่งขันให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยทรัพยากรที่ใช้งานร่วมกันให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด

แนวคิดการทำธุรกิจแบบ Ecosystem ถือว่ามีส่วนสำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากการแข่งขันในปัจจุบันดุเดือดมากกว่าอดีต “การดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน” คือทางเลือกที่ดีที่สุด โดยต้องมุ่งเน้นไปที่ความเชื่อมโยงระหว่างกันและกัน พึ่งพาอาศัยกันอย่างเท่าเทียม ช่วยยกระดับศักยภาพของการทำธุรกิจให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

ทำไม Ecosystem ถึงสำคัญต่อธุรกิจ

จากหัวข้อก่อนหน้านี้ คุณอาจเข้าใจแล้วว่า Ecosystem เป็นกลยุทธ์การทำธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ประกอบการหลายคนที่สงสัยเกี่ยวกับความสำคัญของการร่วมมือกับคู่ค้าอื่น ๆ ใน Ecosystem ซึ่งเป็นคำถามที่พบบ่อยเนื่องจากบางรายอาจรู้สึกว่าพวกเขามีทรัพยากรที่เพียงพอในการแข่งขันและไม่จำเป็นต้องมีความร่วมมือกัน

อย่างไรก็ดี เราไม่ได้ยืนยันว่าการทำธุรกิจต้องอาศัย Ecosystem เท่านั้น แต่ขอนำเสนอข้อดีของการทำธุรกิจแบบ Ecosystem สำหรับการประเมินความสำคัญและความเหมาะสมของกลยุทธ์นี้สำหรับธุรกิจของคุณในยุคปัจจุบัน

ความสำคัญของการทำธุรกิจแบบ Ecosystem นั้นมากขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจแต่ละประเภท และข้อดีที่ได้รับจากการร่วมมือกับคู่ค้าที่หลากหลาย อาทิเช่น การเปิดโอกาสใหม่ในตลาด การแชร์ความเสี่ยง การนำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลาย และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการเลือกคู่ค้าที่เหมาะสม และวิธีการบริหารจัดการความสัมพันธ์ใน Ecosystem

  • ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้เพิ่มมากขึ้นการทำธุรกิจแบบ Ecosystem ช่วยให้เปิดโอกาสของการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการร่วมมือกันจะช่วยดึงดูดลูกค้าของอีกฝั่ง เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น
  • การร่วมมือทางธุรกิจทำให้ต้นทุนลดน้อยลง ด้วยการร่วมมือกันในระบบ Ecosystem ทำให้มีการแบ่งปันทรัพยากรที่ใช้ดำเนินธุรกิจ ซึ่งนั่นทำให้ต้นทุนของการดำเนินธุรกิจลดลงเป็นอย่างมาก
  • มีนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการ ระบบ Ecosystem ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันและแบ่งปันองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้วยแนวการทำงานที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถต่อยอดออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ ไปจนถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่พร้อมพลิกโฉมธุรกิจได้เลยทีเดียว
  • ได้รับความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น การทำธุรกิจแบบ Ecosystem ทำให้มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทที่มีชื่อเสียง ซึ่งส่งผลให้บริษัทได้รับชื่อเสียงตามไปด้วย ซึ่งนั่นทำให้เกิดแรงดึงดูดต่อ ลูกค้า นักลงทุน รวมไปถึงบุคลากรที่สนใจการทำงานในรูปแบบนี้

การสร้าง Ecosystem ให้ประสบผลสำเร็จ

หากคุณเริ่มต้นธุรกิจแบบ Ecosystem อย่างแรกเลยคือคุณต้องดำเนินการทางด้านกลยุทธ์ให้มั่นคงเสียก่อน โดยขั้นแรกคือการมองหาพาร์ทเนอร์ที่มีศักยภาพที่เพียบพร้อม กำหนดทิศทางของการทำงานร่วมกันให้อยู่ในจุดที่ดีที่สุด พร้อมกับมีการบูรณาการให้ธุรกิจทั้งหมดใน Ecosystem ดำเนินงานกันได้อย่างราบรื่น โดยจะต้องยึดเอา “ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง” และมีทัศนคติที่เปิดกว้าง รับฟังแนวคิดใหม่ ๆ จากพาร์ทเนอร์ พร้อมปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาวะของต้องตลาดอย่างทันท่วงที ซึ่งหากสามารถวางกลยุทธ์เบื้องต้นเช่นนี้ได้แล้ว ไปต่อกันที่ขั้นตอนการดำเนินการได้เลย ด้วยขั้นตอนเบื้องต้นดังนี้

  1. กำหนดบทบาทหน้าที่ใน Ecosystem ระบุให้ชัดเจน ต้องเป็นข้อตกลงที่ทุกฝ่ายพึงพอใจทั้งหมด
  2. ระบุมูลค่าที่สมเหตุสมผล ในระบบธุรกิจคุณอาจไม่ใช่เพียงบริษัทเดียวที่ยื่นข้อเสนอไปสู่พาร์ทเนอร์ ดังนั้นต้องเตรียมมูลค่าทางธุรกิจที่สมเหตุสมผล มีแรงดึงดูดต่อการทำการค้าร่วมกัน
  3. กำหนดรูปแบบรายได้ กำหนดทิศทางของรายได้ที่จะเข้ามาหลังการร่วมงาน จัดแจงการกระจายรายได้ให้ชัดเจนมากที่สุด
  4. กำหนดกฎเกณฑ์ข้อตกลงต่าง ๆ สร้างข้อตกลงการดำเนินการ โดยมีข้อบังคับที่ชัดเจน ระบุความรับผิดชอบอย่างละเอียด เพื่อให้การร่วมงานกันไม่มีข้อพิพาทในภายหลัง
  5. สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัล เลือกใช้แพลตฟอร์มที่สอดคล้องกับการใช้งาน ควรมองหาแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่น รองรับการทำงานที่แตกต่างกันได้ภายในแพลตฟอร์มเดียว
  6. ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ติดตามผลการดำเนินงาน มองหาจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข พร้อมมองหาจุดแข็งที่ได้รับจากการทำงานร่วมกัน
  7. อำนวยความสะดวกให้กันและกัน เพื่อให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรมีการช่วยเหลือกันในบางกรณี พร้อมช่วยอำนวยความสะดวกให้กันและกันอยู่เสมอ
  8. อย่าหยุดมองหาแนวคิดใหม่ ๆ จุดแข็งของธุรกิจแบบ Ecosystem คือ “สองหัวดีว่าหัวเดียว” ดังนั้นอย่าหลุดคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เตรียมตัวให้พร้อมกับการแข่งขันอยู่เสมอ

Ecosystem ในสายอุตสาหกรรม

การนำเอาแนวคิด Ecosystem มาประยุกต์ให้เข้ากับสายงานอุตสาหกรรม ช่วยให้การดำเนินธุรกิจนั้นไม่ได้โดดเดี่ยว แต่เป็นการดำเนินธุรกิจภายในระบบขนาดใหญ่ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน พร้อมกับลดต้นทุนไปในเวลาเดียวกัน ด้วยระบบการทำงานที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ส่งผลให้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าการทำธุรกิจแบบโดดเดี่ยว ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ระบบ Ecosystem ประกอบด้วยผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ให้บริการ และลูกค้า ในทุกส่วนที่เรากล่าวถึง พวกเขาไม่ได้เพียงแค่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมการแข่งขัน เพื่อสร้างส่วนแบ่งทางการตลาด รวมไปถึงการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกด้วย

ตัวอย่าง Ecosystem ที่ประสบความสำเร็จ

  • ระบบ Ecosystem ของ Apple

หากนับเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมเทคโนโลยี คงไม่มีชื่อไหนที่ขึ้นชื่อว่าประสบความสำเร็จมากไปกว่า Apple อีกแล้ว ด้วยระบบ Ecosystem ที่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ iPhone, iPad, Mac, Apple Watch พร้อมด้วยบริการต่าง ๆ เช่น บริการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบน App Store, บริการจัดการข้อมูลต่าง ๆ บน iTunes, พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบน iCloud, แพลตฟอร์มการทำธุรกรรม Apple Pay และแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอย่าง Apple TV+ ทั้งหมดที่กล่าวมามีการสอดประสานกันอย่างราบรื่นระหว่าง “ซอฟต์แวร์” “ฮาร์ดแวร์” “บริการ” ทำให้เกิดความเหนียวแน่นของผู้ใช้บริการ ส่งผลให้แบรนด์ประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้

  • ระบบ Ecosystem ของ Amazon

ระบบ Ecosystem ของ Amazon ได้รับการออกแบบมาเพื่อการให้บริการที่ “สะดวก” และ “รวดเร็ว” ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์รวมถึงบริการได้อย่างง่ายดาย ในเวลาเดียวกันก็ช่วยให้ทำให้เกิดบุคคลภายนอก สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าขนาดใหญ่ของ Amazon ได้อีกด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ Amazon ประกอบไปด้วย แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง Amazon Prime, แพลตฟอร์มคลาวด์สุดอัจฉริยะ Amazon Web Services และ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอันดับต้น ๆ ของโลกอย่าง Amazon Marketplace เป็นต้น

  • ระบบ Ecosystem ของ Google

Google เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มีการใช้ Ecosystem ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เช่น Google Search, Google Maps, Google Drive, Gmail, Google Docs และ Youtube เป็นต้น จุดมุ่งหมายหลักของ Google มุ่งเน้นไปที่การ “สืบค้น” พร้อมนำเสนอผลลัพธ์ที่ผู้ใช้งานนั้นต้องการได้โดยง่าย เข้าถึงข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งเว็บไซต์ ภาพ เนื้อหา และ วิดีโอ พร้อมทั้งยังให้ความสำคัญกับระบบปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยตนเองของระบบอีกด้วย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มาก็คือประสบการณ์อันยอดเยี่ยมของผู้ใช้งานนั่นเอง

  • ระบบ Ecosystem ของ Uber

Uber จะมีระบบการให้บริการที่มุ่งเน้นไปที่การขนส่งเป็นหลัก ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเดินทางถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย ด้วยแพลตฟอร์มที่แก้ไขความยุ่งยากของการเดินทาง ระบบ Ecosystem ของ Uber นั่น จะเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการเรียกรถ ชำระเงิน การขนส่งสิ่งของ เป็นต้น โดยมีบริการอื่น ๆ ที่หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Uber Eats บริการสำหรับการสั่งอาหารเดลิเวอรี และ Uber Freight บริการสำหรับการขนส่งสิ่งของ

  • ระบบ Ecosystem ของ Microsoft

Microsoft 365 2

สุดท้ายเป็นบริษัทที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้อย่างแน่นอน “Microsoft” โดยประกอบไปด้วยระบบปฏิบัติการอย่าง Windows, แพลตฟอร์มมือถือ Windows Phone, บริการ Cloud Computing Azure, ซอฟต์แวร์เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อย่าง Microsoft 365, เครื่องมือการทำงานร่วมกัน เช่น Microsoft Teams และเครื่องมือการพัฒนา เช่น Visual Studio ซึ่งนี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวเดียวของผลิตภัณฑ์ของ Microsoft เพราะในตอนนี้ได้ให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งระบบ Ecosystem คือชุมชนขนาดใหญ่ ที่มีทั้งนักพัฒนา และ คู่ค้าที่สามารถสร้างและใช้งานแอปพลิเคชัน เพื่อให้บริการกับบุคคลที่ 3 ตามข้อเสนอของ Microsoft ด้วยแนวคิดนี้ทำให้บริษัทเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จนขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่องอย่างในทุกวันนี้

สรุป

การดำเนินธุรกิจในตอนนี้ ไม่ควรเป็นการดำเนินธุรกิจแบบฉายเดี่ยว โอกาสที่คุณจะสามารถเอาชนะการแข่งขันนั้นน้อยมาก ๆ ทางที่ดีคุณควรทำความรู้จักกับแนวคิดแบบ Ecosystem สร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่ดีให้กับองค์กรของคุณ การดำเนินงานโดยมีพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ มีส่วนช่วยโดยตรงให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสได้เข้าไปสู่ตลาดใหม่ ๆ ช่วยสร้างความได้เปรียบระหว่างการแข่งขัน พร้อมสร้างอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากคู่แข่งทางการค้าได้อีกด้วย

ก้าวเข้าสู่ Digital Business

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

Search
microsoft partner of the year 2024 Quick ERP

Quick ERP รับรางวัล Partner of the Year Awards 2023 – Dynamics 365 Finance

รางวัล 3 ปีซ้อน ได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินธุรกิจในระดับสูงตลอดปีที่ผ่านมา ตลอดจนมีกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดที่สมบูรณ์และไม่เหมือนใคร