IoT vs IIoT คืออะไร เปรียบเทียบให้ชัดทุกด้าน และอัปเดตในปี 2023

IoT และ IIoT คืออะไร ? แม้มีชื่อที่คล้ายกันแต่มีความแตกต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ บทความนี้เรารวบเรื่องน่าสนใจของทั้ง 2 ระบบเอาไว้ทั้งหมด
iot vs iiot
ทางลัด: เลือกอ่านเฉพาะเรื่องที่อยากรู้

สำหรับการใช้ชีวิตในทุกวันนี้ สิ่งที่ทุกคนขาดไปไม่ได้เลยก็คือ “อินเทอร์เน็ต” เรามั่นใจว่าทุก ๆ คนย่อมมีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตติดตัวอย่างแน่นอน ซึ่งนั่นเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับบทความของเราในบทนี้ เพราะเราจะมานำเสนอเรื่องราวของ IoT หากเห็นเพียงตัวย่อสั้น ๆ เพียงเท่านี้ คุณอาจเกิดความสงสัยว่าคำ ๆ นี้คืออะไร แต่หากได้รู้ถึงคำเต็ม ๆ คุณจะเข้าใจที่มาของระบบนี้ทันที โดยระบบนี้คือ “Internet of Things” แปลกันตรงตัวเลยก็คือ “อินเทอร์เน็ตคือทุกสิ่ง”

บทความนี้เรามารู้จักกับระบบนี้กันให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับรู้ถึงข้อแตกต่างกับ IIoT อีกหนึ่งระบบที่มีชื่อละม้ายคล้ายกัน แต่มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง และยังได้รู้ข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ เกี่ยวกับคำว่า “อินเทอร์เน็ตคือทุกสิ่ง” ให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก

IoT คืออะไร ?

ก่อนอื่นนั้นต้องขอแนะนำให้คุณได้รู้จักกับ IoT ( ย่อมาจาก Internet of Things ) แม้ว่าด้วยชื่อนั้นจะดูเป็นหลักการยาก ๆ ที่ใช้กันเฉพาะทาง แต่ในความหมายที่แท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรซับซ้อนเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากทุกอย่างเป็นความหมายตรง ๆ ทั้งหมด “อินเทอร์เน็ตคือทุกสิ่ง” คือระบบที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต คุณสามารถสั่งการผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กับสิ่งนั้น ๆ ก็สามารถใช้งานได้ ยกตัวอย่างเช่น การเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชัน ระบบบ้านแบบสมาร์ทโฮม เป็นต้น

IoT อาจเรียกอีกอย่างได้ว่า M2M ( Machine to Machine ) ซึ่งมีความหมายคือ การปล่อยให้เครื่องจักรนั้นสั่งการกันเองผ่านทางสัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยระบบนี้เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1999 ภายในโปรเจ็คของมหาวิทยาลัย MIT หลักการทำงานหากให้อธิบายง่าย ๆ เลยก็คือ การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสั่งงานอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่ง วัตถุประสงค์หลัก ๆ เลยก็คือเพิ่มความสะดวกสบายให้การใช้ชีวิตประจำวัน

Quick Suggest

ถ้าสนใจอยากรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ

IIoT คืออะไร ?

มาต่อกันที่ IIoT ( ย่อมาจาก Industrial Internet of Things ) หลักการทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม ยังคงเป็น “อินเทอร์เน็ตคือทุกสิ่ง” เช่นเคย แต่มีคำเพิ่มเติมขึ้นมาคือ “ทางอุตสาหกรรม” กล่าวรวม ๆ เลยก็คือ เป็นระบบ IoT ที่มีเอาไว้เพื่อทำงานในทางอุตสาหกรรมเป็นหลัก ซึ่งจะแตกต่างจากแนวคิดเดิม ที่มีเอาไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน

เนื่องจากมีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ IIoT แตกต่างออก จากเดิมที่อาจเป็นการสั่งเครื่องใช้ไฟฟ้าเล็ก ๆ ภายในบ้าน ในตอนนี้ก็จะกลายเป็นการสั่งงานเครื่องจักรขนาดใหญ่ภายในโรงงานแทน ซึ่งจะมีความละเอียดมากกว่า มาพร้อมกับการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ติดตามผล และฟังก์ชันอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อช่วยให้กระบวนการผลิตนั้นดำเนินการได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

IoT vs. IIoT ถึงชื่อคล้ายกัน แต่ก็มีส่วนที่ต่างกันอย่างชัดเจน

จากเนื้อหาข้างต้น คุณน่าจะรู้จักกับ IoT และ IIoT กันไปบ้างแล้ว จะเห็นได้ว่าแม้ทั้ง 2 จะมีหลักการที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีจุดแตกต่างที่เด่นชัด สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ยังสงสัยอยู่ว่าต่างกันมากน้อยเพียงใด ต่อจากนี้เราจะมาแนะนำ 3 จุดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนมากที่สุด ทำให้เราแยกออกว่าระบบไหนเป็น IoT หรือ IIoT ตามเนื้อหาดังต่อไปนี้

  • ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ต่อเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีระบบ Smart Device จะถูกเรียกว่า “Thing” ซึ่งส่วนนี้ภายใน IoT และ IIoT จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ

    • IoT จะมี Thing เป็น “Consumer Base” มุ่งเน้นไปที่การอำนวยความสะดวกของการใช้ชีวิตประจำวันเป็นหลัก เช่น การสั่งการอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าใน Smart Home การใช้งาน Smart Watch เพื่อรับสายโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
    • IIoT จะมี Thing เป็น “Machine” หรือก็คือเครื่องจักร มีส่วนประกอบเป็น เซ็นเซอร์, มิเตอร์, Actuators และ Controller มีหน้าที่สั่งการให้เครื่องจักรเริ่มทำงาน-หยุดทำงาน เก็บข้อมูลต่าง ๆ ตรวจนับการทำงาน เป็นต้น
  • อุปกรณ์ที่ใช้

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ คืออุปกรณ์ที่ใช้เพื่อทำให้ระบบทั้งหมดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจเรียกว่า “เครื่องส่งสัญญาณ” ก็ได้เช่นเดียวกัน แน่นอนว่าทั้ง IoT และ IIoT ใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

    • IoT จะใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก ใช้พลังงานต่ำ ยกตัวอย่างเช่น Zigbee และ LoRaWAN เป็นต้น การใช้งานมุ่งเน้นไปที่ความยืดหยุ่น ใช้งานได้หลากหลายประเภท
    • IIoT จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความทนทานค่อนข้างสูง เนื่องจากพื้นที่ทำงานนั้นมีอุณหภูมิที่สูง จำเป็นต้องทนอุณหภูมิได้อย่างน้อยที่ 50 องศาเซลเซียส อุปกรณ์จะมีราคาแพง เนื่องจากเป็นเกรดอุตสาหกรรม และยังต้องมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะทางอีกด้วย เช่น ความเสถียร , ความปลอดภัย และ ความแม่นยำ
  • วัตถุประสงค์การใช้งาน

ในข้อนี้เป็นข้อแตกต่างที่เรามั่นใจว่า “ต่างกันโดยสิ้นเชิง” เนื่องจากทั้ง 2 ข้อนั้นยังมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างในบางจุด แม้จะมีข้อแตกต่างกันก็ตาม แต่เมื่อมาถึงวัตถุประสงค์การใช้งาน ทั้ง IoT และ IIoT จะมีแนวทางที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้

    • IoT มุ่งเน้นไปที่การอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานเป็นหลัก ทั้งในด้านของการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงด้านสุขภาพ เป็นต้น
    • IIoT จะไม่มุ่งเน้นไปที่ผู้ใช้งาน แต่จะมุ่งเน้นไปที่ผลผลิตของการทำงาน ความปลอดภัยของข้อมูล ความแม่นยำ ประสิทธิภาพของการผลิตในเครื่องจักรประเภทนั้น ๆ

การใช้งานของ IoT ในสายอุตสาหกรรม

เมื่อเป็นการใช้งานระบบ IoT ภายในโรงงานอุตสาหกรรม ต้องใช้คำว่า IIoT ถึงจะถูกต้องมากกว่า โดยประโยชน์ที่นำระบบนี้มาใช้ในงานอุตสาหกรรมคือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เพิ่มสูงขึ้นได้อย่างเห็นผล ทั้งยังช่วยลดต้นทุน ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการโดยรวม ซึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป มักถูกนำมาใช้งานดังต่อไปนี้

  • ติดตามสินทรัพย์ เนื่องจากเซ็นเซอร์ของ IIoT สามารถติดตามทั้งตำแหน่งและสถานะของสินทรัพย์ได้ ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ ยานพาหนะ รวมไปถึงจำนวนสินค้าคงคลังได้อย่าง Real Time
  • ช่วยประหยัดพลังงาน ระบบ IIoT มีความสามารถตรวจสอบการใช้พลังงานได้ หากในจุดไหนเกิดการใช้พลังอย่างสิ้นเปลือง ก็สามารถแก้ไขให้ประหยัดมากขึ้น ส่งผลให้ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
  • ช่วยแจ้งเตือนอันตรายต่าง ๆ ด้วยเซ็นเซอร์ของระบบ IIoT ที่มีความแม่นยำสูง ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ก็สามารถตรวจพบได้ในทันที ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่เกิดกำหนด แก๊สรั่ว ไปจนถึงการลักลอบกระทำการใด ๆ จากบุคคลภายนอก เป็นต้น

ความแตกต่างของการสื่อสารใน IoT และ IIoT

ตามปกติแล้วอุปกรณ์ IoT จะถูกออกแบบการตั้งค่าเพื่อให้สอดคล้องต่อการใช้งานของผู้ใช้งานเป็นหลัก โดยทำงานผ่านระบบคลาวด์ ด้วยโปรโตคอลทั้งแบบไร้สายและมีสาย เนื่องจากมุ่งเน้นความยืดหยุ่นของการใช้งาน เช่น Wi-Fi, Bluetooth, Zigbee และเครือข่ายเซลลูลาร์ของสมาร์ทโฟน ซึ่งอาจเชื่อมโยงกันด้วยแอปพลิเคชันเป็นหลัก มีอัตราข้อมูลที่ต่ำ

แต่กลับกันอุปกรณ์ที่ใช้งานระบบ IIoT จะได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ การสื่อสารก็จะเป็นการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายที่ใช้โปรโตคอลแบบพิเศษ เช่น Modbus, OPC-UA และ CAN เพื่อให้การสื่อสารนั้นแม่นยำมากที่สุด พร้อมเพิ่มความปลอดภัยเป็นพิเศษอีกด้วย ป้องกันการถูกแฮกจากภายนอก และยังมีความพิเศษในเรื่องของการสั่งการที่แม้จะขาดการเชื่อมต่อไปแล้ว เมื่อกลับมาเชื่อมต่อก็สามารถดำเนินการคำสั่งเดิมไปในทันที ช่วยให้กระบวนการผลิตไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ทั้งสิ้น แม้เกิดปัญหาขัดข้องกับอุปกรณ์

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน IoT และ IIoT

  • การประยุกต์ใช้ระบบ IoT

    • Smart Home เป็นระบบที่หลาย ๆ บ้านเริ่มนำเข้ามาใช้กันแล้ว โดยในส่วนต่าง ๆ ของบ้านจะมีระบบ Smart Device เพื่อให้สามารถรองรับระบบ IoT ได้ ทุกอย่างภายในบ้านจะถูกควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็นการ การปิดเปิดไฟ ไปจนถึงระบบกันขโมย เป็นต้น
    • การดูแลสุขภาพ ระบบ IoT ถูกนำมาใช้เพื่อดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ผ่าน Smart Watch ซึ่งจะมีเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ที่สามารถวัดความดันเลือด ชีพจร รวมไปถึงตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งเหมาะเป็นอย่างมากสำหรับการเฝ้าระวังผู้สูงอายุ เพราะในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน จะมีการส่งสัญญาณเตือนไปยังญาติในทันที
    • การจัดการพลังงาน เนื่องจากปัญหาพลังงานเป็นเรื่องที่โลกควรต้องรับมือ ทำให้ระบบ IoT มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถตรวจจับการใช้พลังงานของอาคาร มีส่วนไหนที่ใช้พลังงานโดยสูญเปล่าไปบ้าง เพื่อให้สามารถจัดการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพลังงานให้ถูกจุดมากที่สุด
    • การตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในตอนนี้ ทำให้ระบบ IoT มีส่วนสำคัญเพื่อเตือนภัยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเตือนคุณภาพของน้ำ สภาพอากาศ ไปจนถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ทั่วโลกกำลังประสบในเวลานี้
    • การคมนาคม ระบบ IoT ถูกนำมาใช้กับการคมนาคมมาโดยตลอด โดยจะตรวจจับตำแหน่งของรถ ความเร็วการเคลื่อนที่ ไปจนถึงเส้นทาง เพื่อนำไปวิเคราะห์ถึงเส้นทางที่ควรจะหลีกเลี่ยง และยังสามารถบันทึกพฤติกรรมการขับขี่ของคนขับได้อีกด้วย
  • การประยุกต์ใช้ระบบ IIoT

    • ใช้เพื่อเก็บข้อมูล ระบบ IIoT จะอาศัยเซ็นเซอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลในขั้นตอนการผลิต และจะนำข้อมูลเหล่านั้นส่งต่อเข้าสู่ระบบคลาวด์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ Real Time มากที่สุด เช่น ความดัน อุณหภูมิ ระยะเวลาการทำงาน อัตราการผลิต จำนวนสินค้าที่ผลิต เป็นต้น
    • ใช้ประมวลผลข้อมูล ภายใน IIoT มีอัลกอริทึมที่สามารถประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติได้ เพื่อทำให้ข้อมูลดิบที่เก็บข้อมูลมา กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ไม่ต้องนำไปคำนวณใหม่อีกครั้งให้เสียเวลา
    • จัดการกำหนดการบำรุงรักษา ระบบ IIoT สามารถตรวจสอบได้ทันที หากเครื่องจักรมีชิ้นส่วนไหนที่ทำงานผิดปกติ ทำให้สามารถดำเนินการซ่อมบำรุงได้ในทันที หลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงหายที่ร้ายแรง แถมยังช่วยทำให้ระยะเวลาการทำงานไม่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย
    • แสดงผลข้อมูล หลังจากเก็บข้อมูลแล้วนำมาประมวลผลข้อมูล ในลำดับถัดไประบบ IIoT สามารถนำเสนอข้อมูลเหล่านั้นออกมาในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น รายงาน กราฟ ไปจนถึงแดชบอร์ด ก็สามารถทำออกมาได้ในทันทีทันใด
    • เพิ่มอำนาจการตัดสินใจ สุดท้ายแล้วเมื่อมีข้อมูลอันแม่นยำ อัปเดตข้อมูล Real Time อยู่ตลอด ทำให้เมื่อจำเป็นต้องนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจ ก็สามารถตัดสินใจได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น และสามารถบ่งบอกถึงศักยภาพการทำงานในส่วนการผลิตต่าง ๆ ออกมาเป็นข้อมูลได้อย่างเด่นชัดอีกด้วย

การเชื่อมต่อระหว่างระบบ

สำหรับผู้ที่กำลังกังวลว่าระบบ IoT และ IIoT เมื่อนำมาใช้ภายในโรงงานอุตสาหกรรม จะสามารถเชื่อมต่อเข้ากับการทำงานระบบอื่น ๆ ได้หรือไม่ ไม่ต้องเป็นกังวลเลยแม้แต่นิดเดียว เรื่องจากทั้ง 2 ระบบสามารถทำงานร่วมกับระบบอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบ ERPCRMMES หรือ SCADA ก็สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเช่นเดิม สามารถแบ่งปันข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรวจวัดได้ รวมไปถึงนำข้อมูลเข้าไปประมวลผลในส่วนกลาง และยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ผ่านระบบ API ช่วยให้ดำเนินการทุกอย่างผ่านแอปพลิเคชัน เพิ่มความสะดวกให้การใช้งานให้มากยิ่งขึ้นเป็นอย่างมาก

สรุป IoT และ IIoT ในปี 2023: นวัตกรรมใหม่ในอุตสาหกรรม

  • IoT

    • อุตสาหกรรมการผลิต: การใช้ IoT ในการควบคุมและติดตามกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความผิดพลาด โดยใช้เซ็นเซอร์ต่าง ๆ สำหรับตรวจสอบคุณภาพสินค้า และการปรับปรุงระบบจัดการคลังสินค้าอัตโนมัติ
    • การเกษตรอัจฉริยะ: การใช้ IoT เพื่อช่วยในการจัดการและติดตามพืชผักและสัตว์เลี้ยง อาทิ เครื่องมือวัดความชื้นในดิน, ระบบควบคุมการให้น้ำอัจฉริยะ และเซ็นเซอร์ตรวจจับศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและควบคุมความเสี่ยงได้ดีขึ้น
    • สุขภาพและการดูแลรักษา: IoT มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุปกรณ์สุขภาพอัจฉริยะ เช่น สายรัดข้อมือสุขภาพ อุปกรณ์ติดตามสุขภาพ และอุปกรณ์ช่วยดูแลผู้สูงอายุ ทำให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องง่ายขึ้น และสามารถป้องกันโรคร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • การคมนาคมอัจฉริยะ: IoT สนับสนุนการพัฒนาระบบคมนาคมอัจฉริยะ เช่น ระบบจราจรอัจฉริยะ, ระบบจอดรถอัจฉริยะ, และการจัดการโครงข่ายขนส่งสาธารณะ ซึ่งช่วยในการลดการจราจรติดขัด ประหยัดเวลาในการเดินทาง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงความปลอดภัยของผู้ใช้รถ ด้วยการติดตั้งเซ็นเซอร์และกล้องวิดีโอเพื่อตรวจจับอุบัติเหตุและแจ้งเตือนผู้ขับขี่
    • การจัดการพลังงานอัจฉริยะ: การนำ IoT มาใช้ในการจัดการและควบคุมการใช้พลังงาน ทำให้เกิดการประหยัดพลังงานและลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง นำไปสู่การส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับการใช้พลังงานในอาคาร ระบบควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะ และระบบควบคุมการปิดเปิดไฟฟ้าอัจฉริยะ
  • IIoT

    • การผสมผสาน AI และการเรียนรู้ของเครื่อง: การนำ AI มาประยุกต์ใช้ใน IIoT ช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจอัตโนมัติมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิผลและลดต้นทุนการผลิต
    • ความปลอดภัยไซเบอร์: ความปลอดภัยของข้อมูลและการควบคุมการเข้าถึงเป็นเรื่องสำคัญใน IIoT เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญของอุตสาหกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัสและมาตรการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลมีความสำคัญเพื่อรักษาความปลอดภัย
    • การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่: การนำข้อมูลจากเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน IIoT มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวโน้มและประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
      การติดตามและคว
    • คุมแบบเรียลไทม์: การใช้ IIoT ในการติดตามและควบคุมกระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ ช่วยให้สามารถตรวจสอบความคืบหน้าและสถานะของการผลิตได้ทันที ทำให้สามารถตรวจจับปัญหาและแก้ไขอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและลดความเสี่ยงของความล่าช้าและความเสียหาย
    • การระบบควบคุมสั่งการและการสื่อสารที่ทันสมัย: การพัฒนาการสื่อสารข้อมูลและระบบควบคุมสั่งการใน IIoT ช่วยให้เครื่องจักรและอุปกรณ์สามารถสื่อสารกันและร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การจัดการกระบวนการผลิตเป็นเรื่องง่ายขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความยืดหยุ่นและการปรับปรุงประสิทธิภาพในระดับอุตสาหกรรม

สรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเรื่องน่าสนใจของระบบ IoT และ IIoT หากคุณอ่านมาถึงจุดนี้ เรามั่นใจว่าคุณคงแยกออกแล้วว่าการทำงานของทั้ง 2 ระบบมีจุดไหนที่แตกต่างกันบ้าง ด้วยข้อแตกต่างเหล่านั้นทำให้การใช้งานนั้นแตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วก็เป็นระบบที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ช่วยสร้างความสะดวกสบายให้การใช้ชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มความปลอดภัย ลดต้นทุน และยังมีประโยชน์อีกมากมาย ที่สามารถนำระบบนี้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

ก้าวเข้าสู่ Industry 4.0

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

ThingWorx IoT Platform ให้ผู้ใช้งานเชื่อมต่อ สร้าง และปรับใช้โปรแกรมผ่านแอพพลิเคชัน สร้างประสบการณ์ในการเชื่อมโลก IT กับ OT เข้าด้วยกัน
โรงงานดิจิทัลอาศัยระบบ MES ยกระดับการวางแผนทรัพยากรองค์กร ERP ให้ก้าวลํ้ากว่าที่เคย โดยตลอดทั้งสายการผลิตระบบ MES และอุปกรณ์ IoT ของ Quick ERP จะเข้าไปควบคุมตรวจสอบด้วยความแม่นยำ เพื่อให้โรงงานของคุณทำงานด้วยความเร็วที่ไม่ช้าลงและประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ