IoT Platforms แพลตฟอร์มยุคดิจิทัล
IoT (Internet of Thing) เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงอย่างมากมาย ควบคู่กันกับเรื่อง Industrial 4.0 หรือว่า Thailand 4.0 หลายธุรกิจหลายองค์กรพยายามทำให้องค์กรเป็น Industrial 4.0 ค้นหาหน้าแนวทางต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่า Digital Transformation
แต่การที่จะนำเทคโนโลยี IoT มาใช้งานเพื่อให้องค์กรเป็น Industrial 4.0 ได้อย่างสมบูรณ์แบบและยั่งยืนนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หลาย ๆ โปรเจคสามารถทำได้ระดับในหนึ่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จในเชิงของธุระกิจ หรือคุณประโยชน์ที่ได้รับ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน หรือแม้แต่การขยายขนาดของระบบ IoT ไปสู่การใช้งานจริงที่มีจำนวน Things มาก ๆ นั้นไม่สามารถทำได้ ติดขัดข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง เช่น เรื่องของการใช้ Platform เพื่อเชื่อมต่อกับ Software platform อื่น ๆ ได้อย่างไม่สะดวกมากนัก ต้องใช้โปรแกรมเมอร์ ที่มีความสามารถสูงเฉพาะด้านมาพัฒนา แต่ก็ยังตามมาด้วยปัญหา(Bug) ที่หลากหลาย รวมไปถึงข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลที่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีไม่มีรั่วไหล เรามาทำความรู้จัก IoT Platforms ที่จะมาแก้ไขข้อจำกัดเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี
IoT Platforms คืออะไร
IoT Platform คือ แพลตฟอร์มที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานกับอุปกรณ์ IoT ในเชิงพาณิชย์ เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT, โรงงานอุตสาหกรรม และองค์กรที่พัฒนาสู่ยุค Digital Transformation 4.0 ซึ่งจะช่วยพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) โดยแพลตฟอร์มจะช่วยให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันได้ เกิดการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์แบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้ใช้งานทราบถึงข้อมูลของอุปกรณ์ ณ เวลานั้น ๆ ไม่ว่าผู้ใช้งานจะอยู่ที่ไหนเวลาใดก็ตาม ทั้งยังรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ได้จำนวนมากในระบบและเวลาเดียว ทำให้ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานเชิงพาณิชย์ที่มีอุปกรณ์ IoT จำนวนมาก ๆ ได้เป็นอย่างดี
เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในแบบมาตรฐานที่สูงสุด สำหรับระบบ IoT ใช้ที่งานเครื่องจักร และอุปกรณ์ IoT ที่มีหลากหลายแบรนด์ร่วมกัน จะมีการเข้ารหัสข้อมูลในรูปแบบมาตรฐานความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ในทุก ๆ จุด ทำให้ลดข้อกังวลด้านความปลอดภัยด้านข้อมูลของผู้ใช้ IoT Platform ได้เป็นอย่างดี ทำให้เรื่องของการทำ Digital Transformation ประสบความสำเร็จได้ง่ายดาย, รวดเร็ว และปลอดภัย
IoT vs IIoT ต่างกันอย่างไร?
ทั้ง IoT (Internet of Things) และ IIoT (Industrial Internet of Things) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่เมื่อพูดถึงการใช้งานในอุตสาหกรรม ทั้งสองมีบทบาทและเป้าหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อความซับซ้อนของระบบและผลลัพธ์ที่ได้รับ
IoT ในอุตสาหกรรม
IoT ในอุตสาหกรรมหมายถึงการนำเทคโนโลยี IoT ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานทั่วไป มาใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมบางส่วน โดยเน้นไปที่งานง่าย ๆ หรือเฉพาะเจาะจง เช่น
- การติดตามสินค้า
ใช้เซ็นเซอร์ RFID หรือ GPS เพื่อติดตามสถานะสินค้าในระหว่างการขนส่ง เช่น การตรวจสอบว่าพัสดุถึงปลายทางตามเวลาหรือไม่ - ระบบแจ้งเตือนในโกดังสินค้า
ติดตั้ง IoT Sensor เพื่อตรวจจับระดับวัตถุดิบหรือสินค้าในคลังสินค้า และแจ้งเตือนเมื่อสินค้าคงคลังต่ำกว่าระดับที่กำหนด - อุปกรณ์เชื่อมต่อทั่วไป
เช่น ระบบล็อคประตูในสำนักงาน หรือเครื่องตรวจจับการเคลื่อนไหวในโรงงาน ซึ่งเป็นการประยุกต์ IoT ในการเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัย
- การติดตามสินค้า
IIoT ในอุตสาหกรรม
IIoT เป็นการยกระดับ IoT ไปอีกขั้นสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่ซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง เช่น โรงงานผลิต โรงไฟฟ้า หรือระบบขนส่งขนาดใหญ่ มันไม่ได้เป็นเพียงการติดตั้งเซ็นเซอร์ แต่รวมถึงการบูรณาการข้อมูลกับระบบต่าง ๆ เช่น ERP (Enterprise Resource Planning), MES (Manufacturing Execution System) และ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สำคัญ เช่น
- เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
IIoT ช่วยให้สามารถติดตามการทำงานของเครื่องจักรแบบเรียลไทม์ เช่น การตรวจสอบว่าเครื่องจักรในสายการผลิตทำงานเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ หากพบข้อผิดพลาด ระบบสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานอัตโนมัติได้ทันที - การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance)
แทนที่จะซ่อมบำรุงเมื่อเครื่องจักรเสีย IIoT ใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์เพื่อตรวจสอบลักษณะการสึกหรอ และแจ้งเตือนล่วงหน้าว่าเครื่องจักรใดต้องการซ่อม ลดเวลา Downtime และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น การจัดการพลังงาน
IIoT ช่วยลดต้นทุนพลังงานโดยการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานในโรงงาน เช่น การควบคุมให้เครื่องจักรทำงานในช่วงเวลาที่พลังงานมีต้นทุนต่ำการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
IIoT ช่วยติดตามสถานะสินค้าในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิตจนถึงการส่งมอบ เช่น การตรวจสอบว่าการขนส่งสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่
- เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
Quick Suggest
หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ
ความสามารถของ IoT Platform ที่ควรต้องมี
Connect
สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT จำนวนมาก ๆ ได้ ในระบบและเวลาเดียวกัน และแอปพลิเคชันที่แตกต่างกันเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้หลายแหล่ง สามารถลงทะเบียนอุปกรณ์ได้หลายรูปแบบ ยืนยันตัวตนอุปกรณ์ด้วยระบบ Token สื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์กับคลาวด์แบบเรียลไทม์ รองรับระบบเน็ตเวิร์คทั้งแบบ LAN, Wifi, 3G, NB-IoT และ LoRaWAN
Build
มีตัวช่วยสร้าง User Interface ที่ใช้งานง่ายและสวยงาม พร้อมการแสดงผลแบบเรียลไทม์ที่จะสร้างโซลูชัน IoT ที่สมบูรณ์แบบ และสร้างประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย มี Dashboard สำหรับแสดงข้อมูลและควบคุมสั่งการอุปกรณ์ได้ รวมถึงมีเครื่องมือที่ช่วยจัดการโฟลว์การทำงานของอุปกรณ์ที่สามารถตั้งค่าเองได้
Analyze
สามารถวิเคราะห์ข้อมูล IoT ที่ซับซ้อนแบบเรียลไทม์ด้วยฟังก์ชันการคาดการณ์และการให้คำแนะนำ มีระบบจัดเก็บข้อมูลที่หลากหลาย ได้แก่ ข้อมูล Configuration ของอุปกรณ์และเซนเซอร์ ที่สามารถออกแบบเองได้ในรูปแบบ JSON, การประมวลข้อมูลเบื้องต้นก่อนบันทึก (เช่น การแปลงหน่วยข้อมูล) และการเก็บข้อมูลในรูปแบบ Time Series
Manage
ช่วยจัดการอุปกรณ์ IoT, Data และผู้ใช้งาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงกระบวนการและภาพรวมของระบบทั้งหมด การส่งต่อข้อมูลไปยัง Platform อื่นได้ เช่น สามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนตามเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อแจ้งเตือนผ่านทางอีเมล แอปพลิเคชันไลน์ หรือเว็บแอปพลิเคชันอื่น ๆ ได้
Experiencet
สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้รับ ความรวดเร็วและสะดวกที่สุด ในการใช้งานทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Web Application, Mobile Application และ Smart Device ต่าง ๆ
ส่วนของการนำเสนอข้อมูลนอกจากการแสดงผลในแบบมาตรฐานที่เป็นรูปแบบของ WEB Application ที่ใช้งานผ่าน Web Brower ที่ใช้ได้ในหลากหลายระบบปฏิบัติการ (Operating System) และหลากหลาย Device แล้วนั้น ยังต้องคำนึงถึงการรองรับระบบการแสดงผลในแบบ Visual Reality(VR), Augmented Reality(AR) และ Mix Reality (MR) ที่เป็นเทคโนโลยีสำหรับโลกเสมือนจริง Metaverse ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ด้วย
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ IoT Platform
การปรับปรุงประสิทธิภาพ
IoT Platform ช่วยในการติดตามและวัดปริมาณการใช้พลังงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย
การปรับปรุงประสิทธิภาพของลูกค้า
IoT Platform ช่วยในการให้บริการลูกค้าโดยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า
การเพิ่มปริมาณการใช้งาน
IoT Platform ช่วยในการเพิ่มปริมาณการใช้งานของเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ
การวิเคราะห์ข้อมูล
IoT Platform ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย
การปรับปรุงความปลอดภัย
IoT Platform ช่วยในการปรับปรุงความปลอดภัยโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากผู้ไม่ได้รับอนุญาต
การเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่
IoT Platform ช่วยในการเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่โดยใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อเสริมปริมาณการใช้งานและเพิ่มปริมาณการใช้งาน
การจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
IoT Platform ช่วยในการจัดการและบริหารจัดการอุปกรณ์เชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดปัญหาและความผิดพลาดในการทำงาน
การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์
IoT Platform ช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และระบบเพื่อให้ข้อมูลสามารถถ่ายโอนไปยังระบบอื่นได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน
IoT Platform ช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูลจากอุปกรณ์เชื่อมต่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ และช่วยในการลดความผิดพลาดและปัญหาในการทำงาน ส่วนประสิทธิภาพในการจัดการและบริหารจัดการอุปกรณ์ สามารถเพิ่มปริมาณการใช้งานและประหยัดเวลาในการทำงาน
การตรวจสอบสถานะอุปกรณ์
IoT Platform ช่วยในการตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจในการปรับปรุงปริมาณการใช้งานของอุปกรณ์ และจัดการอุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัยและประหยัดเวลา
ตัวอย่าง IoT Platform
IoT Platform เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการจัดการและเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูล ประมวลผลและแจ้งเตือนได้ มีตัวอย่าง IoT ดังต่อไปนี้
Thingworx Platform
– เป็น IoT Platform ที่เหมาะสำหรับงานวิศวกรรม และงานออกแบบอุปกรณ์ IoT
– มีคุณสมบัติการจัดการข้อมูลแบบ Real-time และสามารถเข้าถึงข้อมูลจากหลายแหล่งได้
– มี Visualization และ Analytics ให้เลือกใช้
– สามารถเขียนโปรแกรมได้ด้วยภาษา Java และ C#
Azure IoT Central
– เป็น IoT Platform ของ Microsoft ที่มีคุณสมบัติในการจัดการข้อมูลแบบ Cloud-based
– มีการจัดการข้อมูลแบบ Real-time และสามารถเข้าถึงข้อมูลจากหลายแหล่งได้
– คุณสมบัติในการจัดการและเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ ผ่านทาง Cloud และเป็นแพลตฟอร์มครอบคลุมทั้งหมด
– มี Visualization และ Analytics ให้เลือกใช้ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านทาง Mobile application และ Web-based
– สามารถเขียนโปรแกรมได้ด้วยภาษา C#, Python และ Java
ในมุมของการแข่งขันทางธุรกิจ องค์กรที่ไม่ได้กำหนดกลยุทธ์ด้าน IoT เสี่ยงต่อการแข่งขันที่เสียเปรียบ ตั้งแต่ยังไม่เริ่มแข่งขัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ณ เวลานี้คือ “ลงมือทำเลยตอนนี้หรือจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”
แนวโน้ม IoT ในอนาคต
1. การเชื่อมต่อ 5G
เทคโนโลยี 5G จะช่วยให้ IoT รองรับอุปกรณ์ได้มากขึ้นด้วยการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็วและลดความหน่วง ตัวอย่างเช่น
- รถยนต์ไร้คนขับที่สื่อสารกันแบบเรียลไทม์
- เมืองอัจฉริยะที่เชื่อมโยงระบบทุกอย่างเข้าด้วยกัน
2. การประมวลผลที่ขอบเครือข่าย (Edge Computing)
Edge Computing ช่วยลดเวลาการประมวลผลและเพิ่มความปลอดภัย โดยเฉพาะในงานที่ต้องการการตอบสนองทันที เช่น
- การผลิตในโรงงานที่ต้องปรับปรุงการตั้งค่าเครื่องจักรในเสี้ยววินาที
- ระบบรักษาความปลอดภัยที่วิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ทันท
3. การรวม IoT กับ AI (AIoT)
AI ช่วยเพิ่มความสามารถของ IoT ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ตัวอย่างเช่น
- การบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบคาดการณ์ล่วงหน้า
- การประมวลผลข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน
4. ดิจิทัลทวิน (Digital Twins)
การจำลองแบบเสมือนช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ได้ก่อนดำเนินการจริง ตัวอย่างเช่น
- การสร้างแบบจำลองสายการผลิตเพื่อทดลองประสิทธิภาพ
- การจัดการโครงสร้างพื้นฐานของเมืองแบบเรียลไทม์
ก้าวเข้าสู่ Industry 4.0
ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่