CRM คือ ผู้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำให้คุณกลายเป็นสุดยอดนักขาย

CRM ย่อมาจากอะไร ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า เปรียบเทียบจุดเด่น CRM Software สำคัญ ประโยชน์ที่มีต่อธุรกิจ
What is CRM

CRM คืออะไร ย่อมาจากอะไร

CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หมายถึงการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าปัจจุบันและว่าที่ลูกค้าในอนาคต (Lead) เพื่อช่วยให้การขายเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปกติเรามักจะเรียกระบบหรือ Software นี้ว่า CRM

CRM คืออะไร

ระบบ CRM (CRM System) คืออะไร

ระบบ CRM คือ เครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจและดูแลลูกค้าปัจจุบันและว่าที่ลูกค้าของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มุ่งเน้นไปที่การรักษาฐานลูกค้าและขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต

หากพูดกันง่าย ๆ CRM ก็เปรียบเสมือนผู้ช่วยให้คุณเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และนำไปต่อยอดเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างตรงจุด

CRM เกี่ยวข้องกับ Sale และ Marketing อย่างไร?

เมื่อพูดถึงระบบ CRM แน่นอนว่าอดนึกถึง Sale และ Marketing ไม่ได้ เพราะระบบ CRM เรียกได้ว่าเป็นคู่หูคนสำคัญของสุดยอดนักขายและนักวิเคราะห์อย่าง Sale และ Marketing และยังรวมถึง Service ด้วย เพราะระบบ CRM จะเข้าไปช่วยให้การดำเนินการด้านการขายและการบริการลูกค้าเป็นไปได้อย่างง่ายดาย มีประสิทธิภาพมากขึ้น

CRM จะมีประโยชน์และสามารถช่วยธุรกิจของคุณอย่างไรบ้าง ไปดูกัน 

3 ประโยชน์ของระบบ CRM ที่มีต่อธุรกิจ

3 ประโยชน์ของ CRM
  • 1. ฝ่ายการตลาด (Marketing) 

ความต้องการของ Marketing:

ระบบที่เข้ามาช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่ม ROI

CRM ตอบสนอง:

รวบรวมข้อมูลของลูกค้าได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลลูกค้า เพื่อนำข้อมูลไปต่อยอดกลยุทธ์ เลือกช่องทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม เพื่อเข้าถึงตลาดที่เฉพาะกลุ่ม อีกทั้งยังสามารถช่วยตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เลือก Solution ในการดำเนินการให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่ม ROI ให้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล

  • 2. ฝ่ายขาย (Sale) 

ความต้องการของ Sale:

ระบบที่สามารถปรับแต่งได้อย่างยืดหยุ่น เพื่อรองรับกระบวนการทำงานของทีมขาย มีฟีเจอร์ที่ช่วยจัดการกระบวนการขายในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่วิเคราะห์สถานะการเสนอขาย ติดตามการขาย ปิดดีลการขาย และสร้างรายงานประสิทธิภาพการขายของทีมทั้งภาพรวมและรายบุคคลได้อย่างแม่นยำ

CRM ตอบสนอง:

ด้วยฟีเจอร์ Sales Pipeline ของระบบ CRM จะเข้าไปช่วยผู้ใช้งานระบบ CRM สามารถ Tagging กิจกรรมที่เกิดขึ้นกับลูกค้าแต่ละราย เช่น บันทึกข้อมูลการติดต่อลูกค้า ช่องทางการติดต่อลูกค้า บันทึกการนัดหมาย แจ้งเตือนการนัดหมาย ติดตามใบเสนอราคา

พร้อมรายงานประสิทธิภาพการขายในรูปแบบ Dashboard สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบได้ทั้งแบบรายทีม หรือรายบุคคล วิเคราะห์โอกาสในการปิดดีลการขายได้อย่างแม่นยำ โดยฟีเจอร์นี้สามารถปรับแต่งให้ตรงกับ Flow การทำงานของทีมขายได้อย่างยืดหยุ่น

  • 3. ฝ่ายบริการลูกค้า (Service) 

ความต้องการของ Service:

ระบบที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและรายละเอียดประวัติการ Support ลูกค้าได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งสามารถติดตามสถานะการร้องเรียนและประสานงานกับทีมให้ดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

CRM ตอบสนอง:

สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าจาก Sale และ Marketing อีกทั้งประวัติการ Support ที่ผ่านมาของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างครอบคลุม ทำให้สามารถเข้าใจปัญหาของลูกค้าได้อย่างตรงประเด็น พร้อมทั้งฟีเจอร์ที่ช่วยติดตามสถานะและประสานงานการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึง เข้าใจลูกค้ามากขึ้น สร้างความประทับใจที่ดีให้กับลูกค้า เพิ่มโอกาสการเสนอขายในอนาคตที่มากกว่าเดิม

CRM มีกี่ประเภท CRM ทำอะไรได้บ้าง แต่ละประเภทเหมาะกับอุตสาหกรรมแบบไหน

CRM มีกี่ประเภท

ระบบ CRM สามารถแบ่งได้หลายประเภทในแต่ละหมวดหมู่ แต่วันนี้เราจะพูดถึง CRM 3 ประเภทที่แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

  • 1. Operational CRM 

Operational CRM เป็น CRM ที่เข้าไปมีบทบาทในการปรับปรุงและพัฒนาการติดต่อกับลูกค้าให้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น มีขั้นตอนการทำงานที่น้อย ง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ตั้งแต่การสร้างลีด แปลงลีดให้กลายเป็นลูกค้า และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรมที่เหมาะกับ Operational CRM

อุตสาหกรรมแต่ละประเภทมีความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่ง Operational CRM เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการติดต่อประสานงานกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เช่น

      • อุตสาหกรรมการบริการ
      • อุตสาหกรรมการขายและการตลาด
      • อุตสาหกรรมการแพทย์
  • 2. Analytical CRM 

Analytical CRM เป็น CRM ที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรม ความสนใจ ความถี่ในการทำธุรกรรม หรือรูปแบบการใช้บริการ และสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดและการขายให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุุด

อุตสาหกรรมที่เหมาะกับ Analytical CRM

Analytical CRM เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เพื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างกลยุทธ์ทางการขายและการตลาด เช่น

      • อุตสาหกรรมทางด้านการเงิน

      • อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

      • อุตสาหกรรมขายปลีก

  • 3. Collaborative CRM 

Collaborative CRM มุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายในองค์กรสามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้อย่างลื่นไหล สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าขององค์กรเป็นภาพเดียวกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงประเด็น

อุตสาหกรรมที่เหมาะกับ Collaborative CRM

Collaborative CRM เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการให้ทุก ๆ ฝ่ายในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้แบบเรียลไทม์ เช่น

      • อุตสาหกรรมโรงแรม

      • อุตสาหกรรมการโทรคมนาคม

CRM ทั้ง 3 ประเภทนี้สามารถนำไปปรับใช้กับทั้งธุรกิจ B2B หรือ B2C ได้ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการเลือกใช้ระบบ CRM ของธุรกิจเอง

การเลือกใช้ CRM Software

การเลือกใช้ CRM

การเลือกใช้ระบบ CRM ให้เหมาะกับธุรกิจและการใช้งานต้องคำนึงหลายปัจจัย เพื่อให้แน่ใจว่าระบบที่เลือกใช้สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

  • เข้าใจความต้องการของธุรกิจ

ก่อนจะพูดถึงการเลือกใช้ระบบ คุณต้องแน่ใจเสียก่อนว่าธุรกิจของคุณมีความต้องการระบบ CRM แบบไหน เพื่อมาตอบสนองความต้องการด้านใดของคุณ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนถัดไป

  • เปรียบเทียบ CRM แต่ละเจ้า

เมื่อคุณวิเคราะห์ความต้องการของธุรกิจเรียบร้อยแล้ว ต่อไปคุณควรศึกษาเกี่ยวกับระบบ CRM ที่มีอยู่ในตลาดทั้งหมด และเลือกระบบที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจอย่างน้อย 3-5 เจ้า เพื่อนำมาเปรียบเทียบด้านต่าง ๆ เช่น คุณสมบัติ ราคา หรืออื่น ๆ

  • ทดลองใช้งาน

การศึกษาระบบอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นการทดลองใช้เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการเลือกใช้งานระบบ CRM เพื่อใช้แน่ใจว่าระบบที่คุณต้องการใช้ตอบสนองความต้องการของธุรกิจคุณจริง ๆ หรือไม่ และระบบมีฟีเจอร์ที่รองรับการทำงานของทีมคุณอย่างไร ยืดหยุ่นต่อการดำเนินงานของธุรกิจคุณแค่ไหน

  • ROI

ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง คุณควรพิจารณาและคำนวณผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในระบบ CRM ให้ดี โดยพิจารณาว่า ระบบที่คุณจะใช้จะสามารถต่อยอด ปรับปรุงการดำเนินงาน หรือลดค่าใช้จ่ายให้ธุรกิจได้มากน้อยแค่ไหน

  • ความปลอดภัย

คุณควรพิจารณาถึงความปลอดภัยให้ดี เพราะทั้งข้อมูลลูกค้า และข้อมูลบริษัทของคุณจะต้องไปอยู่ในนั้น

5 ตัวอย่างระบบ CRM ที่ได้รับความนิยม

ระบบ CRM ที่ได้รับความนิยม
  • 1. Salesforse 

Salesforce ระบบ CRM ที่ได้รับความนิยมทั้งในไทยและต่างชาติ ด้วยความสามารถที่รองรับการใช้งานด้าน CRM อย่างครบครัน ผลักดันให้การดำเนินการขาย การตลาด และบริการลูกค้าเป็นไปได้ราบรื่น เพิ่มโอกาสการขายและ ROI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • 2. Pipedrive

Pipedrive เป็นระบบ CRM ที่ขึ้นชื่อเรื่อง Sales Pipeline อีกหนึ่งระบบ ช่วยจัดการการมองเห็นภาพรวมการขายได้ชัดเจน

  • 3. Zoho

Zoho เป็นระบบ CRM ที่มีความสามารถในการปรับแต่งสูง เหมาะสำหรับทุกธุรกิจที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

  • 4. Freshsales

Freshsales มุ่งเน้นให้ UI มีการใช้งานง่าย ผู้ใช้งานสามารถใช้งานเพื่อจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

  • 5. Microsoft Dynamics 365

Microsoft Dynamics 365 เป็นทั้งแพลตฟอร์ม ERP ระบบ CRM ที่ได้รับความนิยม มีความยืดหยุ่นต่อผู้ใช้งาน อีกทั้งยังโดดเด่นในด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันเฉพาะทางอีกด้วย

ซึ่งแต่ละระบบมีฟีเจอร์ที่โดดเด่น ดังนี้

Feature Salesforce Pipedrive Zoho Freshsales Microsoft Dynamics 365
ยืดหยุ่นในด้านการปรับแต่งสูง มีข้อจำกัดบางประการ มีข้อจำกัดบางประการ
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน 14 วัน 15 วัน 21 วัน 30 วัน
ทำงานร่วมกับระบบอื่น ๆ
AI ขั้นสูงในการทำนายพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึก ✅ Einstein มีข้อจำกัดบางประการ มีข้อจำกัดบางประการ มีข้อจำกัดบางประการ ✅ Azure AI
สะดวกต่อการขยายทีมในอนาคต มีข้อจำกัดบางประการ มีข้อจำกัดบางประการ มีข้อจำกัดบางประการ
รองรับการใช้งานบนมือถือ
หน้าโฮมแบบ Personalized
Tagging กิจกรรม
แชร์และอัปเดตข้อมูลได้เรียลไทม์
Dashboard แสดงผล วิเคราะห์ข้อมูลรายทีม รายบุคคล
การวิเคราะห์ข้อมูล มีข้อจำกัดบางประการ มีข้อจำกัดบางประการ
ใช้งานง่าย มีข้อจำกัดบางประการ

ก้าวเข้าสู่ Digital Business

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

Table of Content
Search