เปรียบเทียบ Modern ERP VS Legacy ERP แตกต่างกันอย่างไร ?

เปรียบเทียบ Modern ERP VS Legacy ERP แตกต่างกันอย่างไร ?

ไขข้อสงสัยพร้อมกัน Modern ERP คืออะไร? สร้างข้อได้เปรียบให้ธุรกิจอย่างไร? และ Legacy ERP คืออะไร? มีข้อจำกัดอย่างไร? พร้อมตารางเปรียบเทียบ อธิบายอย่างละเอียด
เปรียบเทียบ Modern ERP VS Legacy ERP แตกต่างกันอย่างไร

ERP คืออะไร ?

ERP โปรแกรม คือ “ระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กร” ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning เป็นระบบที่เข้ามาช่วยจัดการภาพรวม ขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากที่สุด

ERP ทำไมถึงสำคัญต่อองค์กร ?

  • 1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ด้วยความสามารถของ ERP ที่เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมต่อข้อมูลของทุกฝ่ายเข้าไว้ด้วยกันในระบบเดียวอย่างเป็นอัตโนมัติ จึงทำให้การเรียกใช้ข้อมูลจากฝ่ายต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ง่าย ช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบกระบวนการและควบคุมมาตรฐานการทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ

  • 2. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ 

ระบบ ERP สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และรายงานผลได้เรียลไทม์และแม่นยำ นำข้อมูลมาต่อยอดในการวางแผนทางธุรกิจ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • 3. ลดระยะเวลา เพิ่มผลผลิต

ระบบ ERP นั้นสามารถบริหารจัดการองค์กรให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการรวมข้อมูลไว้ในระบบเดียว ทำให้ง่ายต่อการเรียกใช้ข้อมูล ลดระยะเวลาการประสานงานและการส่งต่อข้อมูล พนักงานสามารถจัด Priority ของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต สร้างโอกาสการเติบโตขององค์กรได้อย่างยั่งยืน

  • 4. ประหยัดต้นทุน 

การรวมศูนย์ข้อมูลไว้ในที่เดียวของระบบ ERP ช่วยให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพ ROI ด้านผลิตได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาดที่นำมาซึ่งการสูญเสียต้นทุนในอนาคต อีกทั้งความพร้อมของระบบที่รองรับการขยายการเติบโตขององค์กร ทำให้หมดกังวลเรื่องการโยกย้ายระบบไปมา และการปรับตัวเข้ากับระบบใหม่อยู่ตลอดเมื่อองค์กรขยายตัว

วิวัฒนาการ ERP

เดิมที ERP มีจุดเริ่มต้นมาจากการพัฒนาของ MRP ซึ่งเป็นระบบที่ถูกพัฒนามาเพื่อวางแผนทรัพยากรการผลิต และถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ โดยมีศักยภาพในการทำงานที่ดีกว่าเดิมระดับหนึ่ง และในช่วง ค.ศ. 1990 ได้ถือกำเนิดแนวคิด ERP อย่างเป็นทางการ และเรียกได้ว่าเป็นเหมือนยุคทองของ ERP ก็ว่าได้ เพราะในตอนนั้น ERP เข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจมากขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดในส่วนของราคาและความซับซ้อนในการรองรับความต้องการในการปรับแต่งที่ยังไม่ครอบคลุมมากนัก จนในช่วงศตวรรษที่ 21 องค์กรหลายองค์กรเริ่มมองหาโซลูชันที่คุ้มค่าและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้มีการเข้ามาของโซลูชัน ERP บนคลาวด์ ที่สามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานทุกรูปแบบ ทุกที่ทุกเวลา ได้เรียลไทม์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Quick Suggest

หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ

ทำไม ERP ยุคเก่าใช้งานไม่ได้ในปัจจุบัน ?

  • 1. ล้าสมัย 

ในยุคที่เทคโนโลยีมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด การเชื่อมต่อระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่กับระบบ ERP แบบเดิมอาจทำให้ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก

  • 2. ไม่ยืดหยุ่น 

ระบบ ERP แบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานในยุคนี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ เนื่องจากองค์กรหลายองค์กรมีวิถีการทำงานแบบใหม่ เช่น การทำงานแบบ Work From Home ดังนั้นผู้ใช้งานจึงต้องการระบบที่สามารถอัปเดตข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา เรียกใช้และเข้าถึงข้อมูลได้ทันที แต่ระบบ ERP แบบเดิมอาจไม่รองรับความต้องการเหล่านั้นได้

  • 3. ความคุ้มค่าในการใช้งาน 

ด้วยข้อจำกัดของระบบ ERP แบบเดิมที่มีราคาสูง แต่ไม่รองรับความต้องการขององค์กรได้อย่างครอบคลุม ทำให้บุคลากรไม่สามารถใช้งานระบบได้อย่างเต็มศักยภาพ

ความได้เปรียบจากการใช้ Modern ERP ที่ ERP ยุคเก่าไม่มี

  • 1. ประสิทธิภาพการรายงานข้อมูล

ระบบ ERP สมัยใหม่มีเครื่องมือในการวิเคราะห์ ประมวลผล และรายงานข้อมูลที่แม่นยำและทรงพลังกว่า อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาวิเคราะห์ได้อย่างครอบคลุม พร้อมสร้างรายงานเพื่อนำมาใช้ต่อยอดได้ทันที

  • 2. ความง่ายในการเข้าถึงข้อมูล

Modern ERP สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่าง่ายดาย อัปเดตข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาแบบเรียลไทม์ ลดระยะเวลาในการกรอกข้อมูล ประสานงาน และการส่งต่อข้อมูลระหว่างฝ่าย

  • 3. โอกาสในการเติบโต

เนื่องจาก Modern ERP มีความยืดหยุ่นสูง รองรับทุกการเติบโตขององค์กรทุกขนาด ทำให้ไม่ว่าองค์กรของคุณจะเติบโตไปในทิศทางไหน เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้งาน การขยายตลาดใหม่ เป็นต้น

  • 4. ความปลอดภัย 

มาตรการความปลอดภัยในระบบ ERP สมัยใหม่มักจะมีการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง เช่น การเข้ารหัสข้อมูล Blockchian เป็นต้น

  • 5. User experience 

เนื่องจากระบบ ERP สมัยใหม่มีการออกแบบ Interface ที่ไม่ซับซ้อน ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งานได้มากกว่า

  • 6. ความได้เปรียบทางการแข่งขัน 

ด้วยความทันสมัยของระบบ Modern ERP ทำให้สามารถรองรับการทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถง่ายต่อการรวมระบบเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างคล่องตัว เช่น IoT, Machine Learning, Data Analytics, AI และอื่น ๆ เพื่อให้การทำงานของผู้ใช้งานเป็นอัตโนมัติ สอดคล้องกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สร้างความได้เปรียบ โดดเด่นเหนือคู่แข่ง

Quick Suggest

หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ

  • 7. การลงทุนที่คุ้มค่า 

การลงทุนในระบบ ERP ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับองค์กร เพราะไม่ว่าจะเป็นระบบ ERP เก่าหรือใหม่ล้วนมีมูลค่าในการลงทุนสูงไม่แพ้กัน แต่ความคุ้มค่าในการลงทุนนั้นไม่เท่ากัน เพราะ Modern ERP นั้นสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลได้แบบเรียลไทม์ ทำให้องค์กรสามารถทราบข้อมูลเชิงลึกได้ตลอดเวลา นำข้อมูลไปต่อยอด วางแผนและเพิ่มโอกาสในการขายได้แม่นยำ สร้างผลตอบแทนให้กับองค์กรได้เร็วกว่า คุ้มค่ามากกว่า

ERP ยุคเก่า VS ยุคใหม่ แตกต่างกันอย่างไร (ตารางเปรียบเทียบ)

หมวดหมู่ ERP ยุคเก่า ERP ยุคใหม่
เทคโนโลยี ติดตั้ง Server ภายในองค์กร เลือกการติดตั้งได้ตามความต้องการทั้งแบบ On-Cloud และ On-Premises
ความยืดหยุ่น ใช้ระยะเวลาในการปรับแต่งระบบ การปรับแต่งระบบมีความสะดวกขึ้น ใช้งานผ่าน Interface ได้รวดเร็วขึ้น
ความปลอดภัย ป้องกันความปลอดภัยทางข้อมูลแบบพื้นฐาน การเข้าถึงและการจัดเก็บข้อมูลมีมาตรการความปลอดภัยสูง
การเข้าถึงข้อมูล ถูกจำกัดให้ดำเนินการเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น เข้าถึงและอัปเดตข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาแบบเรียลไทม์
การรายงานข้อมูล ต้องใช้ระยะเวลาในการประสานงาน สามารถวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลได้ทันที
  • 1. เทคโนโลยี

ERP ยุคเก่า จำเป็นต้องติดตั้ง Server ภายในองค์กร

ERP ยุคใหม่ สามารถเลือกการติดตั้งการใช้งานระบบได้ตามความต้องการขององค์กรทั้งแบบ On-Cloud และ On-Premises อีกทั้งยังรองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้อีกด้วย

Quick Suggest

หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ

  • 2. ความยืดหยุ่น

ERP ยุคเก่า อาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับแต่งระบบให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร

ERP ยุคใหม่ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การปรับแต่งระบบมีความสะดวกขึ้น ใช้งานผ่าน Interface ได้รวดเร็วขึ้น

  • 3. ความปลอดภัย

ERP ยุคเก่า มีการป้องกันความปลอดภัยทางข้อมูลแบบพื้นฐาน ซึ่งอาจไม่เพียงพอในบางกรณี

ERP ยุคใหม่ เนื่องจากมีการพัฒนาระบบความปลอดภัยขั้นสูงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเข้าถึงและการจัดเก็บข้อมูลมีมาตรการความปลอดภัยสูง อีกทั้งยังมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด

  • 4. การเข้าถึงข้อมูล 

ERP ยุคเก่า การเข้าถึงข้อมูลหรือการอัปเดตข้อมูลถูกจำกัดให้ดำเนินการเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น

ERP ยุคใหม่ หากเป็นผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตในการเข้าถึงข้อมูลก็สามารถเข้าถึงและอัปเดตข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาแบบเรียลไทม์ ทำให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทำงาน

  • 5. วิเคราะห์และรายงานข้อมูล 

ERP ยุคเก่า ต้องใช้ระยะเวลาในการประสานงานเพื่อรวบรวมข้อมูลจากแต่ละฝ่าย เพื่อนำมาวิเคราะห์และรายงานข้อมูลเชิงลึก

ERP ยุคใหม่ การวิเคราะห์และรายงานข้อมูลเชิงลึกไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอีกต่อไป เพราะในระบบ ERP รวบรวมและอัปเดตข้อมูลของแต่ละฝ่ายภายในองค์กรไว้ในระบบเดียวแบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลได้ทันที พร้อมรายงานผลข้อมูลและนำไปต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปส่งท้าย

และทั้งหมดนี้คือความแตกต่างระหว่าง ERP ยุคเก่า และ ERP ยุคใหม่ ที่แสดงให้เห็นว่าระบบ ERP ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมาตอบโจทย์ความต้องการและเพิ่มความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้งานในหลาย ๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การเลือกระบบ ERP ที่คุ้มค่าของแต่ละองค์กรอาจมีปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นองค์กรควรเลือกระบบที่สอดคล้องและเหมาะสมกับองค์กรนั้น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนที่คุ้มค่าและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร หรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับระบบ ERP ติดต่อ Quick

ก้าวเข้าสู่ Industry 4.0

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

D365 BC Screen 1
Enterprise Resource Planning (ERP)
เราพร้อมแนะนำระบบ ERP ที่เหมาะสมกับงบประมาณ เมื่อมีระบบหลังบ้านที่ดี ก็พร้อมแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่ดี Dynamics 365 Business Central / Finance & Operations
BC Line 1.11 1.1 80
Dynamics 365 Business Central
Dynamics 365 business central (Dyn 365 BC) ระบบ ERP จาก Microsoft (เดิม Dynamics nav) ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูล Cash Flow และทุกส่วนจากโซลูชันเดียวที่เรียลไทม์
FO Line 1.11 1 80
Dynamics 365 Finance and Operations
Dynamics 365 Finance and Operation ช่วยการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ทางการเงินด้วย AI สร้างกระบวนการทางการเงินแบบอัตโนมัติและเป็นหนึ่งเดียว ลดค่าใช้จ่ายดำเนินการ
Table of Content