ก่อนอื่นต้องขอเล่าถึงความเชื่อมโยงระหว่าง อุตสาหกรรม 4.0 กับระบบ MES เนื่องจากในปัจจุบันการแข่งขันด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และบทบาทของเทคโนโลยีและระบบออโตเมชันถูกพัฒนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคดิจจิตอลทรานฟอเมชัน ที่ข้อมูลทั้งหมดมีคุณค่ามหาศาล สำหรับการเติบโตของอุตหกรรมการผลิต อีกทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง ทำให้ทุกองค์กรกระตือรือล้นในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงโลกการผลิตสู่รูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากยิ่งขึ้น
ความหมายของระบบ ERP
ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) คือ ระบบที่ช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร อาทิ การจัดการการเงิน, การจัดการทรัพยากรมนุษย์, การจัดการลูกค้า และ การจัดการซัพพลายเชน
Quick Suggest
หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ
ความหมายของระบบ MES
ระบบ MES เป็นระบบปฏิบัติการในกระบวนการผลิตกึ่งกลางระหว่าง ERP กับ Shop Floor โดยทำหน้าที่รับคำสั่งการผลิตจาก ERP มาวางแผนผลิตในระดับเครื่องจักรแล้วส่งออเดอร์ไปยัง Shop Floor ซึ่งสามารถสรุปองค์ประกอบหลัก 4 อย่างดังนี้
- Production Order/ Work Order – ใบสั่งผลิต
- Schedule Plan – การวางแผนการผลิต
- OEE (overall equipment effectiveness) – ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
- Down Time Tracking – การติดตามการหยุดทำงานของเครื่องจักร
ถ้าจะให้เห็นภาพ MES ก็เป็น Software ตัวหนึ่ง ที่ทำงานผ่าน Web browser โดยมี Application Server กับ Database Server คอยประมวลผลการทำงานและเก็บข้อมูลอยู่ด้านหลัง โดยทำหน้าที่หลักคือการวางแผนและติดตามการผลิต โดยเก็บข้อมูลที่ได้จากการเชื่อมต่อผ่าน MES Terminal กับเครื่องจักรหรือโต๊ะงานแบบ Real Time ซึ่งก็จะได้จำนวนของดี-ของเสีย เวลาที่ใช้ในการผลิต สาเหตุที่ทำให้การทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ(Six-Big losses) เพื่อสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อประเมิณศักยภาพของทรัพยากร(เครื่องจักร, บุคลากร) และพัฒนาการผลิตให้เพิ่มมากขึ้นได้ต่อไป
ความสัมพันธ์ระหว่างระบบ ERP และ MES
การทำงานร่วมกันระหว่างระบบ ERP และ MES สามารถสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิผลให้กับโรงงานผลิต ระบบ ERP จะจัดการทรัพยากรในระดับองค์กร ในขณะที่ MES จะจัดการระดับการผลิต
การแสวงหาประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
การเชื่อมต่อระบบ ERP และ MES สามารถช่วยในการแสวงหาประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต โดยการแบ่งปันข้อมูลที่สำคัญระหว่างระบบทั้งสอง เช่น ข้อมูลการจัดการคลังสินค้า, การจัดการวัตถุดิบ และการติดตามการผลิต
การตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
ระบบทั้งสองสามารถช่วยในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น โดยการประสานงานระหว่างกระบวนการผลิตและ การจัดส่งสินค้า
ระบบ MES จำเป็นต้องมีระบบ ERP ก่อนหรือไม่ ?
ในบางกรณี องค์กรอาจเลือกที่จะนำระบบ MES มาใช้งานก่อน โดยไม่ต้องมีระบบ ERP การตัดสินใจนี้อาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความซับซ้อนของกระบวนการผลิต, ความต้องการทางธุรกิจ หรือ งบประมาณที่มี ต่อไปนี้คือข้อดีและข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการมีระบบ MES โดยไม่มีระบบ ERP
ข้อดี
- การตอบสนองที่รวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิต: ระบบ MES สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น
- การจัดการข้อมูลการผลิต: ระบบ MES สามารถจัดการและติดตามข้อมูลการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้โดยไม่มีระบบ ERP
ข้อเสีย
- ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์: การขาดการเชื่อมต่อกับระบบ ERP อาจทำให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจไม่สมบูรณ์
- การเชื่อมต่อในอนาคต: ในภายหลังการทำให้ระบบ MES และ ERP เชื่อมต่อกันอาจจะซับซ้อนและต้องการทรัพยากรที่มากขึ้น
สรุปคือ ไม่จำเป็น เพราะระบบ MES สามารถใช้งานแบบ Stand Alone ได้ ซึ่งในส่วนการเปิดใบสั่งผลิต จะเปิดผ่านโปรแกรม MES ซึ่งในอนาคตหากต้องการให้ MES เชื่อมต่อกับ ERP หรือโปรแกรมจัดการภาพรวมทางธุรกิจอื่น ๆ ก็สามารถทำในภายหลังได้
ก้าวเข้าสู่ Industry 4.0
ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่