เคล็ดลับสร้าง Power Apps ที่ซับซ้อนอย่างไรให้คงประสิทธิภาพ

โปรเจกต์ Power Apps นี้ถูกออกแบบมาเพื่อ Trading company ทำให้แอปมีหลากหลายโมดูลที่รองรับการใช้งานของพนักงานในบริษัท Trading company
complex power apps

สวัสดีครับทุกคน วันนี้ผมจะมาแชร์ประสบการณ์การสร้าง Power Apps ล่าสุดของผม ซึ่งมันซับซ้อนที่สุดที่ผมเคยสร้างมา

โปรเจกต์ Power Apps นี้ถูกออกแบบมาเพื่อ Trading company คือ บริษัทที่ดำเนินการขาย การจัดการคลังและการขนส่งด้วยตัวเอง ทำให้แอปมีหลากหลายโมดูลที่รองรับการใช้งานของพนักงานในบริษัท Trading company

Quick Suggest

หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ

Functional Requirements ในการสร้าง Power Apps

ก่อนอื่นมาดู Functional Requirements ที่ผมได้รับมากันก่อน

  • สำหรับฝ่ายขาย

    • ตรวจสอบข้อมูลและสถานะของลูกค้า
    • สามารถสร้าง Sales Order
    • ตรวจสอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าแต่ละราย
    • ออกใบเสร็จรับเงินและบันทึกการชำระเงิน
  • สำหรับฝ่ายคลังสินค้า

    • ดูรายการสินค้าที่ต้องจัดเตรียมตามใบสั่งซื้อ
    • ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าในกล่องกับใบสั่งซื้อ
  • สำหรับฝ่ายขนส่ง

    • ดูรายการสินค้าที่ต้องจัดส่ง
    • ติดตามสถานะการจัดส่งสินค้า
  • อื่น ๆ เพิ่มเติม

    • รองรับการใช้งานทุกอุปกรณ์ทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ
    • สามารถเชื่อมต่อการใช้งานกับ D365 F&O ได้อย่างราบรื่น

Technical Requirements ในการสร้าง Power Apps

มาดู Requirements ทางเทคนิคกันบ้างครับ

  • สร้างขึ้นบน Power Platform ที่มีการพัฒนาแอปที่รวดเร็วและมีความปลอดภัย
  • สามารถรองรับผู้ใช้งานพร้อมกันได้ประมาณ 100 คน
  • จัดการ Transaction ที่เข้ามาในทุก ๆ วินาที
  • เชื่อมต่อข้อมูลจาก Dynamics 365 Finance & Operations ได้แบบเรียลไทม์
  • เชื่อมต่อ Data source ได้มากกว่า 50 ตาราง / Data source
  • สามารถจัดการแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (เช่น ข้อมูลหลักของลูกค้าที่มีประมาณ 30,000 รายการ)
  • แอปนี้ต้องเร็ว แม้ตอนที่เสิร์ชข้อมูลขนาดใหญ่

พออ่านถึงตรงนี้ทุกคนอาจมองว่าไม่เห็นจะมีอะไรยากใช่ไหมครับ แต่ปัญหาใหญ่ คือ ความเร็ว

ซึ่ง Microsoft บอกไว้อีกว่า การเชื่อมต่อแอปกับแหล่งข้อมูลจำนวนมาก เช่น การเชื่อมต่อกับข้อมูลมากกว่า 50 ตาราง จะทำให้แอปมีทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น และใช้พลังการประมวลผลและหน่วยความจำที่เพิ่มขึ้น แต่ Requirements คือต้องทำงานได้เร็ว เป็นเรื่องที่ท้าทายผมมาก

Software Architecture

โครงสร้าง Software

Architecture จะแสดงให้เห็นว่าแอปทำงานร่วมกับ D365 F&O ได้อย่างไร

  • ตาราง Dataverse

โดยปกติตาราง Dataverse จะใช้เก็บข้อมูลที่มีจำนวนมาก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูล Master Data โดยจะจำเป็นกับผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพราะข้อมูลจริงจะถูกจัดเก็บบน Dataverse ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับ Power Apps ได้รวดเร็ว ซึ่งเป็นเพราะ Dual-Write ที่ช่วยให้เราอัปเดตข้อมูลได้ Near-Real time มากที่สุด

Quick Suggest

หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ

  • Dataverse Virtual Entities

นี่เป็นวิธีที่ใช้เยอะที่สุดภายในแอปนี้ เพราะมีประสิทธิภาพดี สามารถ Query ได้เร็ว และเหตุผลที่สำคัญอีกอย่่างหนึ่งคือง่ายต่อการ Maintain อีกด้วย

  • Power Automate

การทำงานของ Power Apps ยังคงมีข้อจำกัดบางประการในการทำงานร่วมกับ D365 F&O ดังนั้นจึงต้องขอความช่วยเหลือจาก Power Automate ที่สามารถบันทึกและติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ทำในระบบของเรา เช่น การสร้าง Sales order เป็นต้น

  • Fins & Ops

แม้ว่าเราจะมีหลากหลายวิธีกาารที่จะเชื่อมต่อให้ Power Apps สามารถ Query ข้อมูลใน D365 F&O ได้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอีกอย่างหนึ่งที่ Power Apps ยังไม่สามารถทำได้ คือ ยังไม่สามารถค้นหาข้อมูลที่มีความซับซ้อนมาก ๆ บางอย่างใน D365 F&O ที่จำเป็นต้องค้นหามากกว่า 10 ตารางและมีโค้ด X++ นับไม่ถ้วนในฝั่ง D365 F&O ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถใช้ “Execute action” เพื่อเรียกโค้ด X++ ใน D365 F&O ให้คำนวณและส่งแค่ผลลัพธ์กลับมายัง Power Apps

The App

ในหน้าแอปตอนนี้มีหน้าจอมากกว่า 40 หน้า

ในหน้าแอปตอนนี้มีหน้าจอมากกว่า 40 หน้า (ซึ่งอาจมีเพิ่มเติมมากกว่านี้) ซึ่งตรงนี้แหละที่บอกเราได้ว่าแอปนี้ไม่ได้ง่ายต่อการ Maintain

อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันในหน้าจอหนึ่งไม่ควรส่งผลกระทบไปยังหน้าจออื่น ๆ ในขณะที่บางส่วนของแอปที่ใช้เทมเพลตเดียวกันควรมีลักษณะ หรือฟังก์ชันการทำงานเดียวกัน เช่น Popup modal

ทำให้ส่วนที่ยากที่สุดคือ “ต้อง Maintain ได้”

ทำให้ส่วนที่ยากที่สุดคือ “ต้อง Maintain ได้”

Key สำคัญที่ช่วยให้สร้าง App ด้วย Power Apps สำเร็จ

  • 1. ตัวแปร Context

Context ถูกจำกัดเฉพาะหน้าจอ ซึ่งหมายความว่าในแต่ละหน้าจอจะมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องกันเฉพาะหน้าจอนั้น ๆ และตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ส่งผลต่อหน้าจอปัจจุบันก็จะไม่ปรากฏ ซึ่งนี่เป็นข้อดีที่ทำให้ง่ายต่อการเขียนโค้ดโดยไม่สับสน (เมื่อใช้ Navigate Context จะสามารถส่งผ่านระหว่างหน้าจอได้)

  • 2. Component

แอปที่เราใช้มักมีบางส่วน ที่มีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน เช่น Popup modal หรือ Hamburger menu เราควรใช้ Component สำหรับส่วนนี้ เพราะจะช่วยให้คุณมั่นใจว่าแอปของคุณจะเหมือนกันทุกส่วน เมื่อคุณต้องการแก้ไขก็สามารถทำได้เพียงครั้งเดียว แต่แสดงผลทุกส่วน

  • 3. หลีกเลี่ยง Reference control ข้ามหน้าจอ

นี่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากคุณกำลังอยู่ในหน้าจอที่ 2 และต้องการที่จะดึงค่า Text Input ในหน้าจอที่ 1 จะทำให้ Power Apps ต้องโหลดทั้งสองหน้าจอ และลองคิดดูว่าถ้าคุณสร้างมากกว่า 10 หน้า และทุกหน้ามีการ Reference หากัน ด้วยวิธีนี้ จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของแอปแค่ไหน

  • 4. ใช้ Dataverse

หากแอปของคุณเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ มีชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ต้องการความเร็วในการ Query ข้อมูลและง่ายต่อการ Maintain การใช้งาน Dataverse ร่วมกับ Power Apps เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้แอปของคุณมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ถึงแม้ค่าใช้จ่ายในส่วนของ License จะมีราคาสูง แต่ผมมั่นใจเลยว่าคุ้มค่ากว่าราคาที่จ่ายไปแน่นอน

  • 5. ใช้ Solutions เสมอ

Solutions ช่วยให้คุณจัดกลุ่ม component ที่เกี่ยวข้อง เช่น แอป Flow ตาราง เข้าไว้ใน Package เดียวกัน ซึ่งทำให้ง่ายต่อการ Maintain โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องการ Deploy ไปยัง Environment ที่แตกต่างกัน เช่น UAT หรือ Production ดังนั้นควรใช้ Solutions เสมอ จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาในกระบวนการ Import & Export และตั้งค่าแอปใหม่ จากหลาย ๆ ชั่วโมงให้เหลือเพียง 5 นาทีเท่านั้น

  • 6. อย่าวาง Code ซ้ำ ๆ ไว้ทุกที่

เป็นเรื่องปกติที่ฟังก์ชันการทำงานเดียวกันจะปรากฏในหลาย ๆ ส่วนของแอป ทั้งในหน้าจออื่น ๆ หรือปุ่มอื่น ๆ แต่สิ่งที่สำคัญมาก คือ อย่าวาง Code ซ้ำ ๆ เพราะเมื่อถึงตอนที่คุณต้องแก้ไข คุณจะต้องทำงานซ้ำ ๆ หลายรอบ ซึ่งมีหลากหลายวิธีที่จะหลีกเลี่ยง เช่น ใช้ Component (แทนที่จะวาง Code เดียวกันซ้ำ ๆ ในหลาย ๆ ส่วนของแอป คุณสามารถสร้าง Component ที่สามารถนำไปใช้ซ้ำได้ เช่น ฟอร์ม หรือ Popup) หรือ ใช้ Button ที่ซ่อนอยู่ (สร้าง Button หนึ่งในแอปของคุณและตั้งค่าซ่อนไว้ เมื่อ Button อื่นต้องการทำงานในฟังก์ชันเดียวกัน เพียงแค่เรียกใช้ Button ที่ซ่อนไว้ดำเนินการ หมายความว่าคุณไม่ต้องเขียน Code เดียวกันซ้ำ ๆ ในหลาย ๆ Button)

  • 7. ใช้ With() function

With() function เป็นฟังก์ชันใน Power Fx ที่ช่วยลด Code ซ้ำ ๆ ได้ อีกทั้งยังทำให้ Code ของคุณอ่านง่ายขึ้น ยิ่งในตอนที่คุณต้องการอ้างอิงค่าที่คำนวณไว้ใน Property ที่ตัวควบคุมเดียวกัน แทนที่จะใส่ Code ซ้ำ ๆ ก็สามารถใช้ With() function ได้เลย

  • 8. หลีกเลี่ยงการเพิ่มข้อจำกัดของ Collection

ผมสังเกตว่าหลายคนพยายามเพิ่มข้อจำกัดของ Collection จาก 500 เป็น 2,000 รายการ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบชั่วคราว (Workaround) ในเรื่องของ Delegation แต่ในความเป็นจริง 2,000 รายการนั้นมากเกินไป และทำให้แอปของคุณมีประสิทธิภาพที่ลดลง ดังนั้นข้อจำกัด 500 รายการจึงเหมาะสมสำหรับการใช้งานแล้ว

  • 9. Delegation เป็นเรื่องสำคัญ

มีนักพัฒนาหลาย ๆ คนที่ไม่ได้ใส่ใจกับ Delegation Warning (สัญลักษณ์เตือนสีเหลือง) จริงอยู่ว่ามันไม่ใช่ปัญหาในการทำงานกับชุดข้อมูลขนาดเล็ก แต่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่เมื่อต้องทำงานกับชุดข้อมูลที่มีจำนวนมาก ๆ ผมทราบดีว่า Connector บางอย่างมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการมอบหมายงาน (Delegation) เช่น SharePoint ทำให้บางครั้งก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่คุณสามารถ Filter ข้อมูลด้วย Delegable function หรือ Non-delegable function ทีหลังได้

  • 10. ใช้ Container

แทนที่จะใช้ Code ในการอ้างอิงตำแหน่งหรือขนาดตัวควบคุมอื่น ๆ ให้ใช้ Container แทน จะทำให้แอปของคุณออกมา Perfect ทาง Pixel มากขึ้น

ผลลัพธ์

หลังจากที่ผมใช้เวลาในการพัฒนามาเป็นเวลานาน ผลลัพธ์ที่ได้ก็ คือ…

  • ตอบสนองทุกความต้องการ (Requirement)

แอปนี้สามารถรองรับได้ทุกความต้องการที่เราได้ลิสต์มาในตอนแรก ในขณะเดียวกันก็ยัง…

  • มีประสิทธิภาพการทำงาน

ผมอาจจะบอกไม่ได้ว่าเร็วมากหรือตอบสนองทันที แต่แอปนี้ก็เร็วพอที่ผู้ใช้งานไม่ต้องหงุดหงิดใจในขณะใช้งาน (เมื่อต้องการ Query ตารางที่มีข้อมูลมากกว่าา 300,000 รายการ ใช้เวลาเพียง 1-2 วินาที ซึ่งเร็วกว่า D365 F&O)

  • สามารถ Maintain แอปได้

ผมบอกได้เลยว่าหากผมส่งแอปนี้ไปให้ผู้ใช้ Power Apps คนอื่น ๆ จะไม่ใช่เรื่องยากเลยหากเขาต้องการแก้ไขและติดตาม โดยไม่ทำให้แอปเสียหาย เพราะ Code ทั้งหมดอยู่ในที่ที่ควรอยู่ ไม่มีโค้ดซ้ำ หรือไม่มี Code ปริศนาจากหน้าจอที่ 1 ที่จะทำให้หน้าจอที่ 2 เสียหาย

Screenshots

การเดินทางที่ยาวนานของเราได้สิ้นสุดแล้ว และนี่คือผลลัพธ์ที่ได้…

ผลลัพธ์ 1
ผลลัพธ์ 2
ผลลัพธ์ 3

แหล่งที่มา: PAWIT.PW

ก้าวเข้าสู่ Digital Business

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

Table of Content

🧑‍💻 Workshop สร้าง AI-Chatbot ผู้ช่วยอัจฉริยะปฏิวัติองค์กรดิจิทัล

สร้าง AI-Chatbot อัจฉริยะด้วย Copilot Studio! เชื่อมระบบในองค์กรได้ทันที ยกระดับ Productivity ด้วยการสอนที่เข้าใจง่ายและลงมือทำได้จริง