ในแวดวงธุรกิจในตอนนี้ คงคุ้นชินกับคำว่า “ระบบ ERP” กันเป็นอย่างดี แต่สำหรับใครที่ไม่รู้เราก็สามารถเกริ่นให้คุณได้รู้จักกันคร่าว ๆ ก่อน ว่าโปรแกรมนี้มีเอาไว้สำหรับช่วยในเรื่องของการบริหารธุรกิจ โปรแกรมจะเข้ามาช่วยดูแลจัดการข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กร เพื่อให้สามารถบริหารงานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงที่สุด ซึ่งโปรแกรมนี้มีให้เลือกใช้งานหลากหลายแบรนด์ด้วยกัน มีบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำหลายต่อหลายแบรนด์ที่ผลิตระบบนี้ออกมา ไม่ว่าจะเป็น SAP, Oracle และ Microsoft Dynamics 365 บทความนี้เราจัดทำขึ้นมา เพื่อให้คุณสามารถเลือกได้ว่า ควรใช้ระบบ ERP จากแบรนด์ไหนถึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของคุณ
ERP คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการบริหารธุรกิจของคุณ ?
ก่อนที่เราจะไปเจาะลึกกับระบบ ERP ในแต่ละแบรนด์ ก่อนอื่นเราต้องขอแนะนำเสียก่อนว่าระบบนี้คืออะไร เผื่อว่ากำลังมีผู้อ่านหลายคนที่ยังไม่เคยทำความรู้จักกับระบบ ERP มาก่อน โดยระบบนี้ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning มีหน้าที่แปลตรงตัวกับความหมายคือ “โปรแกรมสำหรับการวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร”
ในทุก ๆ องค์กรย่อมมีหลายส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็น แผนกที่ดูแลการเงิน, แผนกดูแลการขาย, แผนกดูแลลูกค้า, แผนกสำหรับดูแลบุคคล, แผนกสำหรับดูแลการผลิต ไปถึงแผนกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หน้าที่ของระบบ ERP คือทำให้ทุกส่วนขององค์กรทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระเบียบ ช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานของมนุษย์ให้ลดน้อยลง อัปเดตข้อมูลที่สำคัญให้ Real Time อยู่เสมอ พร้อมกับช่วยให้การวางแผน เพื่อพัฒนาองค์กรนั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
หากให้บอกว่าระบบ ERP นั้นสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจมากแค่ไหน เพื่อให้เห็นภาพที่สุดเราต้องขออนุญาตยกตัวอย่าง
“บริษัท A ในทุก ๆ วัน จะต้องมีการประชุม เพื่ออัปเดตเรื่องต่าง ๆ ในองค์กร ฝ่ายผลิตต้องคอยแจ้งกำลังการผลิต ฝ่ายขายต้องแจ้งกับฝ่ายผลิตว่าต้องการสินค้าจำนวนเท่าใด ฝ่ายการเงินต้องคุยกับฝ่ายบุคคลเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนพนักงาน และผู้บริหารต้องนั่งอ่านเอกสารกองโตในทุก ๆ วัน เพื่อติดตามว่าประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรเป็นอย่างไรบ้าง”
จากตัวอย่างนี้คุณคงมองเห็นภาพแล้วว่า การทำงานโดยไม่มีระบบ ERP เป็นตัวช่วยนั้นยุ่งยากแค่ไหน การมีระบบนี้เข้ามาอยู่ในองค์กร จะช่วยลดขั้นตอนอันแสนยุ่งยากให้ลดน้อยลง ช่วยให้การทำงานไม่จำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลผ่านเอกสารอีกต่อไป เมื่อต้องการข้อมูลเมื่อไหร่ก็สามารถดึงออกจากระบบคลาวด์ได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง การผสานงานของทุก ๆ ระบบทำงานได้อย่างไหลลื่น และนี่คือสาเหตุที่คุณควรมีระบบ ERP ภายในองค์กรของคุณ
Quick Suggest
หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ
การเลือกระบบ ERP ให้เหมาะสมกับองค์กรธุรกิจ
แม้ว่าระบบ ERP จะมีประโยชน์สูงมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะกับทุกธุรกิจ เนื่องจากความหลากหลายทางธุรกิจในตอนนี้ อีกทั้งระบบ ERP ที่มีให้เลือกใช้หลากหลายแบรนด์ ทำให้ผู้ใช้งานควรเลือกระบบที่ใช่กับองค์กรให้มากที่สุด เพราะระบบนี้มีค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสีย ถึงแม้จะเป็นจำนวนเงินที่พอดูตัวเลขแล้วสูงเอาการ แต่ถ้านำมาใช้งานอย่างเกิดประโยชน์ มั่นใจได้เลยว่าเงินที่เสียไปนั้นจะคุ้มค่าเงินทุกบาททุกสตางค์อย่างแน่นอน สำหรับผู้ที่ยังไม่มั่นใจว่าจะเลือกระบบอย่างไรให้เหมาะกับองค์กรมากที่สุด อ่านบทความนี้จนจบแล้วคุณจะได้รับคำตอบนั้นในทันที
เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของ ERP ไทยและต่างประเทศ พร้อมตัวอย่างซอฟต์แวร์ ERP ที่น่าสนใจ
การเลือกซอฟต์แวร์ ERP (Enterprise Resource Planning) ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากซอฟต์แวร์นี้จะเป็นหัวใจหลักในการบริหารจัดการข้อมูลและกระบวนการต่าง ๆ ในองค์กร การตัดสินใจเลือก ERP ที่เหมาะสมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจได้อย่างมากมาย ในบทความนี้เราจะเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของซอฟต์แวร์ ERP ที่มีอยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ พร้อมตัวอย่างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ ERP ในประเทศไทย
1. APEAK
APEAK เป็นซอฟต์แวร์ ERP ที่เน้นการใช้งานง่ายและเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีฟีเจอร์ที่ครรบครันในการจัดการสินค้าคงคลัง การขาย การเงิน และการบัญชี ช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามและบริหารจัดการกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม
2. FlowAccount
FlowAccount เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เน้นการใช้งานง่าย และมีฟีเจอร์ที่ช่วยในการบัญชี การออกใบกำกับภาษี และการบริหารเงินสด เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถจัดการเรื่องการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ZORT
ZORT เป็นซอฟต์แวร์ ERP ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะ มีฟีเจอร์ที่ช่วยจัดการร้านค้าออนไลน์ การขาย และการบริหารสินค้าคงคลังอย่างครบถ้วน ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการสินค้าคงคลังและติดตามการขายได้อย่างราบรื่น
4. XERO
XERO เป็นซอฟต์แวร์บัญชีที่มีฟีเจอร์ ERP เบื้องต้น เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก มีการรายงานการเงินที่เข้าใจง่าย และสามารถใช้งานได้บนระบบคลาวด์ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่
5. ECOUNT
ECOUNT เป็นซอฟต์แวร์ ERP ที่มีฟีเจอร์ครอบคลุมหลายด้าน เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีการรองรับหลายภาษา และมีฟีเจอร์ที่ช่วยในการจัดการสินค้าคงคลัง การขาย การเงิน และการบัญชี
ตัวอย่างซอฟต์แวร์ ERP จากต่างประเทศ
1. SAP
ระบบ ERP จากแบรนด์ SAP เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการดูแลจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ภายในองค์กร ชื่อเสียงของแบรนด์นั้นต้องขอเรียกว่าเป็น “ระดับโลก” ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการให้บริการกับองค์กรทุกขนาด ชื่อของแพลตฟอร์มเวอร์ชันล่าสุดคือ “SAP S/4HANA” สามารถทำงานร่วมเข้ากับโปรแกรมอื่น ๆ ของ SAP เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด รองรับการใช้งานในระบบคลาวด์ ประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ รองรับการใช้งานได้หลายภาษา รวมไปถึงสกุลเงินเกือบทุกชนิดบนโลก พร้อมกับคุณสมบัติพิเศษทางที่สามารถประมวลผลข้อมูลอันซับซ้อนได้อย่างแม่นยำ ข้อเสียคือมีราคาที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว หากเทียบกับแบรนด์อื่น ๆ
cr. sap
2. Oracle
Oracle ก็เป็นอีกหนึ่งผู้พัฒนาระบบ ERP ในระดับโลก การใช้งานค่อนข้างยืดหยุ่นเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่อยู่ในชุดของแอปพลิเคชันที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ จุดเด่นของการใช้งานระบบ ERP ของ Oracle คือ มีการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยให้เกิด Work Flow ภายในองค์กร พร้อมกับการจัดการระบบที่ทำให้รองรับการทำงานได้มากที่สุด ผสานเข้ากับการใช้งาน IoT เพื่อเก็บข้อมูลของการทำงานอย่างเรียลไทม์ จัดการข้อมูลจำนวนมากได้เป็นอย่างดี แต่ข้อเสียนั้นก็จะเป็นในเรื่องของความซับซ้อนในบางโซลูชัน กับราคาที่ยังถือว่าแพงอยู่พอสมควร
cr. oracle
3. Microsoft Dynamics 365
มาถึงชื่อที่คุ้นหูคนไทยกันบ้าง Microsoft Dynamics 365 เป็นชื่อของระบบ ERP ที่ผลิตขึ้นมาจากบริษัท Microsoft มีให้เลือกใช้ 2 รูปแบบคือ
เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง ใช้งานได้หลากหลาย แต่ยังไม่สามารถจัดการที่ซับซ้อนได้ดีสักเท่าไหร่
Quick Suggest
หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ
เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ โดดเด่นในเรื่องของการจัดการกับข้อมูลที่ซับซ้อนได้เป็นอย่างดี
Quick Suggest
หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ
การใช้งานค่อนข้างง่าย เนื่องจากมีระบบการใช้งานที่คล้าย ๆ กับโปรแกรมอื่น ๆ ของ Microsoft ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ราคาไม่แพงมาก สามารถเลือกได้หลายขนาด ตามความต้องการขององค์กร จุดเด่นที่ชัดเจนที่สุดคือ “ความยืดหยุ่น” ใช้งานได้หลากหลาย
4. Odoo
Odoo ERP เป็นซอฟต์แวร์ที่มีโมดูลหลากหลายและสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีฟีเจอร์ที่ช่วยในการจัดการการขาย การเงิน การผลิต และการบริหารทรัพยากรบุคคล
5. Acumatica
Acumatica เป็น ERP ที่ทำงานบนระบบคลาวด์ มีฟีเจอร์ที่ครอบคลุมการจัดการข้อมูลทุกด้าน และมีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่ต้องการระบบที่สามารถขยายตัวได้
6. Sage
Sage เป็นซอฟต์แวร์ ERP ที่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีฟีเจอร์ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี การขาย และการบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบนี้มีการปรับแต่งที่ยืดหยุ่นและมีการรายงานที่เข้าใจง่าย
ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ERP ที่ได้รับความนิยม
ความปลอดภัยคือสิ่งแรกที่คุณควรคำนึงถึง หากต้องการเลือกระบบ ERP เข้ามาใช้ในองค์กร เนื่องจากระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ขององค์กรเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลทางการค้า, ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน, ข้อมูลส่วนตัวพนักงาน เรียกได้ว่าทุกข้อมูลที่มีบันทึกในองค์กร จะถูกจดจำเอาไว้ในระบบ ERP ทั้งหมด ดังนั้นควรเลือกใช้งานระบบ ERP จากแบรนด์ที่วางใจได้เท่านั้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็น SAP, Oracle และ Microsoft Dynamics 365 ต่างก็ได้รับความไว้วางใจในระดับโลก มั่นใจได้เลยว่าใช้แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งในนี้ ไม่มีความเสี่ยงต่อข้อมูลขององค์กรที่จะรั่วไหลออกมาสู่สาธารณะอย่างแน่นอน
การประเมินความคุ้มค่า และค่า ROI ในการใช้งานระบบ ERP ต่าง ๆ
แน่นอนว่าการลงทุนไปกับระบบ ERP สิ่งที่คาดหวังคือความคุ้มค่าของการลงทุน เงินที่เสียไปให้กับการใช้งานระบบนี้ในรายเดือน ไปจนถึงรายปี ควรจะผลิดอกออกผลออกมาเป็นความคุ้มค่าที่องค์กรควรได้รับ ซึ่งในส่วนนี้สามารถประเมินได้จาก 2 ส่วนคือ “การประเมินความคุ้มค่า” และ “ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)” ในส่วนของคำตอบคงไม่สามารถตีเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้ เนื่องจากทั้ง SAP, Oracle และ Microsoft Dynamics 365 มีงบประมาณสำหรับการซื้อผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน รวมไปถึงมีค่าใช้จ่ายปลีกย่อยต่าง ๆ อีกมากมาย
ในแต่ละองค์กรจะเสียเงินให้กับระบบ ERP ที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็แลกมากับ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, รายได้ที่จะเพิ่มมากขึ้น, ได้กลยุทธ์อันแสนล้ำค่าของการทำธุรกิจ, ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำธุรกิจ เป็นต้น สุดท้ายแล้วหากองค์กรของคุณใช้งานระบบ ERP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การประเมินทั้ง 2 ส่วนที่เรากล่าวไปข้างต้น ต้องออกมาเป็นผลลัพธ์ที่ดีได้อย่างแน่นอน
การรองรับการปรับแต่งและการขยายความสามารถของระบบ ERP แต่ละแบรนด์
ระบบ ERP ควรสอดคล้องเข้ากับการเติบโตขององค์กร การเลือกระบบให้ดีไม่ควรมองแค่เฉพาะวันนี้กับพรุ่งนี้ ควรมองเผื่อวันที่ธุรกิจของคุณเติบโตมากยิ่งขึ้น หากระบบ ERP ไม่สามารถตอบสนองต่อการเติบโตของธุรกิจของคุณได้ อาจทำให้เสียเวลามาเริ่มต้นใหม่กับระบบใหม่ ที่จะต้องมีการจัดการอีกหลายอย่าง
ในเรื่องของความสามารถในการ “ปรับแต่งความสามารถ” ระบบ ERP ทั้ง 3 ที่เรากล่าวถึงในบทความนี้สามารถทำได้เหมือนกันทั้งหมด ในแต่ระบบ SAP และ Oracle ค่อนข้างจะยุ่งยากกว่าเสียหน่อย ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการปรับแต่งเท่านั้น และมีค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับแต่งที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับ Microsoft Dynamics 365 ที่มีขั้นตอนที่ง่ายกว่า สามารถปรับแต่งได้ง่าย เนื่องจากโซลูชันที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน แต่ก็ยังเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเช่นเดียวกัน
รีวิวจากผู้ใช้จริง
การอ่านรีวิวจากผู้ใช้งานจริง สามารถได้ข้อสรุปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้เกือบทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่ระบบ ERP ที่การตรวจสอบคำรีวิวเองก็สามารถช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้นเช่นเดียวกัน มาลองดูกันว่าทั้ง 3 แบรนด์ที่เรานำมาฝาก มีคำรีวิวไปในทิศทางใดกันบ้าง โดยเราได้รวบรวมคำรีวิวจากหลาย ๆ แหล่งมาฝากผู้อ่าน โดยจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
SAP
ได้รับคำชื่นชมในเรื่องของความหลากหลายของโมดูลต่าง ๆ ความสามารถสูง ตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะความสามารถทางด้านการเงิน ที่จะเป็นที่พูดถึงมากเป็นพิเศษ แต่ก็จะถูกรีวิวในแง่ลบในส่วนของราคาที่ค่อนข้างแพง
Oracle
การรีวิวเป็นแง่บวกในส่วนใหญ่ ได้รับการชื่นชมในเรื่องของความสามารถที่ครอบคลุม สามารถใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ได้โดยไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ ทั้งสิ้น ทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้อย่างไหลลื่น แต่ก็ยังมีการหักคะแนนในเรื่องของราคาที่จะเพิ่มขึ้น หากต้องการใช้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น
Microsoft Dynamics 365
เสียงรีวิวไปในทิศทางด้วยกันว่าใช้งานได้ง่าย ใช้เข้ากับโปรแกรมที่คุ้นเคยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี รองรับระบบคลาวด์ ใช้งานได้จากหลากหลายอุปกรณ์ แต่แง่ลบเองก็มีเช่นเดียวกัน เนื่องจากการใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้ดี ทำให้ต้องมีฮาร์ดแวร์ที่สามารถตอบสนองในส่วนนี้ได้ ถึงจะสามารถใช้งานได้เกิดประโยชน์สูงสุด
แนวโน้มของการพัฒนาระบบ ERP ในอนาคตของแบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ
อาจมีระบบ ERP 2 ชั้น
เป็นการจัดการสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีย่อยออกเป็นหลาย ๆ สาขา ยกตัวอย่างเช่น ร้านสะดวกซื้อ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถยนต์ เป็นต้น
นำ AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
มีแนวโน้มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าจะมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่มีความอัจฉริยะมากขึ้นเรื่อย ๆ เข้ามาทดแทนบทบาทที่เคยเป็นหน้าที่ของมนุษย์
โซลูชันต่าง ๆ ที่สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
โซลูชันต่าง ๆ ที่สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น
เพิ่มการทำงานร่วมเข้ากับ IoT
ช่วยเพิ่มความแม่นยำของข้อมูลต่าง ๆ รวมไปถึงการสั่งการทางไกล ทำให้ลดปัญหา Human Error และความผิดพลาดจากการสื่อสารได้เกือบ 100%
การใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ
แม้ว่าตอนนี้จะมีอยู่บ้างในบางแพลตฟอร์ม แต่การทำงานเองก็ยังไม่ได้เต็มรูปแบบสักเท่าไหร่ ในอนาคตจะมีการปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ใช้ได้ง่ายบนมือถือมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
บทส่งท้าย
สุดท้ายนี้ เราหวังว่าคุณคงจะเลือกได้แล้ว ว่าต้องการใช้ระบบ ERP แบรนด์ไหนสำหรับธุรกิจของคุณ การตัดสินใจครั้งนี้สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะคุณจะต้องอยู่กับระบบนี้ไปอีกนาน อย่าเลือกเพียงเพราะชอบในอะไรบางอย่างของแบรนด์เพียงเท่านั้น ควรเข้าใจในระบบให้ได้มากที่สุด เพื่อให้รู้ถึงข้อดีของเสียของการใช้งาน
หากการเลือกนั้นยากจนเกินไป จนคุณกำลังกังวลว่าจะเลือกแบรนด์ที่เหมาะกับองค์กรของคุณได้หรือไม่ ให้ผู้เชี่ยวชาญจาก Quick ERP ให้คำแนะนำคุณเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะนี่คือทีมงานที่ดูแลเรื่องระบบ ERP ให้กับบริษัทชั้นนำมาแล้วมากมาย ได้รับรางวัลต่าง ๆ มาแล้วมากมาย การันตีคุณภาพของการให้บริการได้อย่างแน่นอน
ก้าวเข้าสู่ Digital Business
ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่