บริหารสินค้าคงคลังแม่นยำด้วย Safety Stock Journal ใน D365 FO

บริหารสินค้าคงคลังแม่นยำด้วย Safety Stock Journal ใน D365 FO

Safety Stock Journal บน Microsoft Dynamics 365 Finance & Operations เครื่องมือบริหารสินค้าคงคลังที่ช่วยคำนวณระดับสินค้าสำรองได้อย่างแม่นยำ รองรับ Master Planning แบบเรียลไทม์ การวางแผนซัพพลายเชนแม่นยำ
ใช้ Safety Stock Journal ใน D365FO บริหารสินค้าคงคลังอย่างแม่นยำ ลดของขาด-ของค้าง เพิ่มประสิทธิภาพ Master Planning

สินค้าคงคลังเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการค้นหาวัตถุดิบและการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปเพื่อรองรับความต้องการของตลาด การบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพช่วยลดต้นทุน ลดความสูญเสีย และเพิ่มศักยภาพในการตอบสนองลูกค้าได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว

Safety Stock Journal ใน Microsoft Dynamics 365 Finance & Operations (D365FO) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนซัพพลายเชนได้อย่างเป็นระบบ คาดการณ์แนวโน้มตลาดได้แม่นยำ ลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าคงคลังหรือสินค้าคงคลังล้นเกิน และช่วยให้กระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Master Planning ใน Dynamics 365 FO

Master Planning เป็นกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารอุปสงค์และอุปทานได้อย่างสมดุล โดยใช้ข้อมูลจากคำสั่งซื้อของลูกค้า แนวโน้มตลาด และประวัติการขายมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดปริมาณการผลิตและการสั่งซื้ออย่างเหมาะสม กระบวนการนี้ช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาสินค้าขาดแคลนหรือสินค้าคงคลังล้นเกิน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนการจัดเก็บ และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ

ใน D365FO ระบบ Master Planning ยังสามารถทำงานร่วมกับ Module Production Control, Module Procurement and souning, และ Module Inventory Management เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการซัพพลายเชนที่แม่นยำและมีความยืดหยุ่น สามารถคาดการณ์แนวโน้มของตลาดได้แบบเรียลไทม์และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Master Planning ใน Dynamics 365 FO

เหตุผลที่ Master Planning มีความสำคัญ

การมีระบบ Master Planning ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและแข่งขันได้ในตลาดที่มีความผันผวน เหตุผลสำคัญที่ทำให้ Master Planning มีความจำเป็น ได้แก่

  • 1. บริหารอุปสงค์และอุปทานอย่างสมดุล

Master Planning ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารอุปสงค์และอุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ข้อมูลจากคำสั่งซื้อ คาดการณ์แนวโน้มตลาด และข้อมูลย้อนหลัง เพื่อวางแผนการผลิตและการจัดซื้อให้เหมาะสม การวางแผนที่แม่นยำช่วยลดโอกาสของสินค้าคงคลังล้นเกินและการขาดแคลนสินค้า ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจทำให้ธุรกิจสูญเสียโอกาสทางการขาย

  • 2. ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและซัพพลายเชน

Master Planning ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยลดปัญหาคอขวดและความล่าช้าในการผลิต การใช้ข้อมูลการวางแผนที่ถูกต้องช่วยให้ฝ่ายผลิตสามารถปรับกำลังการผลิตให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น เครื่องจักร และแรงงาน

  • 3. ลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง

การมีสินค้าคงคลังมากเกินไปทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษา เช่น ค่าเช่าคลังสินค้า ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในขณะที่การมีสินค้าคงคลังน้อยเกินไปอาจทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าและสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ Master Planning ช่วยให้องค์กรสามารถคำนวณปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสม ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

  • 4. เพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

Master Planning ทำให้องค์กรสามารถจัดส่งสินค้าได้ตรงตามกำหนดเวลา ลดระยะเวลารอคอย และเพิ่มระดับความพึงพอใจของลูกค้า หากองค์กรสามารถจัดการซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลูกค้าจะได้รับสินค้าตามคำสั่งซื้อโดยไม่เกิดความล่าช้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความภักดีต่อแบรนด์

  • 5. การจัดการความไม่แน่นอนในตลาด

ตลาดมีความผันผวนอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค การขาดแคลนวัตถุดิบ หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน Master Planning ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์แนวโน้ม คาดการณ์การเปลี่ยนแปลง และเตรียมแผนสำรองเพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

  • 6. รองรับการเติบโตและการขยายตัวของธุรกิจ

เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น Master Planning มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้กระบวนการดำเนินงานขยายตัวไปได้อย่างราบรื่น หากไม่มีการวางแผนที่ดี ธุรกิจอาจพบปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรและโลจิสติกส์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจทำให้สูญเสียโอกาสทางการขายและลดความสามารถในการแข่งขัน

  • 7. ช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ

Master Planning ให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจที่แม่นยำและรอบคอบเกี่ยวกับการจัดซื้อ การผลิต และการกระจายสินค้า ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้กับธุรกิจ

  • 8. รองรับระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัล 

ในยุคปัจจุบัน หลายองค์กรนำระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) และ AI (Artificial Intelligence) เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ Master Planning ระบบเหล่านี้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถวางแผนได้อย่างแม่นยำและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว

Pain Points ในการบริหาร Master Planning และแนวทางแก้ไข

แม้ว่า Master Planning จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารซัพพลายเชนและสินค้าคงคลัง แต่การดำเนินงานยังคงเผชิญกับปัญหาหลักหลายประการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความแม่นยำของการวางแผน โดยเฉพาะในด้าน Safety Stock ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ปัญหาหลักที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • 1. ข้อมูลไม่เพียงพอสำหรับการคำนวณ Safety Stock (Insufficient Data for Safety Stock Calculation)

การคำนวณ Safety Stock ต้องอาศัยข้อมูลที่แม่นยำ เช่น ปริมาณการใช้สินค้าย้อนหลัง ระยะเวลาการสั่งซื้อ (Lead Time) และระดับการให้บริการ (Service Level) อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรไม่มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบหรือมีข้อมูลที่ขาดช่วง ส่งผลให้ระดับ Safety Stock ที่กำหนดอาจต่ำเกินไปหรือสูงเกินไปได้

ทั้งนี้หาก Safety Stock ถูกกำหนดต่ำกว่าความเป็นจริง องค์กรอาจประสบปัญหาสินค้าขาดแคลน ไม่สามารถตอบสนองคำสั่งซื้อของลูกค้าได้ทันเวลา ในขณะที่หากกำหนดสูงเกินไป อาจทำให้เกิดสินค้าค้างสต็อกที่ไม่จำเป็น ส่งผลให้ต้นทุนการจัดเก็บสูงขึ้น การบริหารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ระบบ ERP ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

  • 2. ความยุ่งยากในการดึงข้อมูล Safety Stock เพื่อวิเคราะห์และปรับค่า (Inconvenience for Extracting Safety Stock Data for Analysis and Adjustment)

การคำนวณ Safety Stock อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่สามารถเข้าถึงและอัปเดตได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรพบปัญหาเกี่ยวกับการดึงข้อมูลจากระบบ ERP หรือฐานข้อมูล เนื่องจากโครงสร้างข้อมูลที่ไม่เอื้อต่อการวิเคราะห์ หรือกระบวนการดึงข้อมูลที่ซับซ้อน

  • 3. ขาดผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติในการบริหาร Safety Stock (Lack of Statistician for Business Firm for Managing Safety Stock Level) 

การบริหาร Safety Stock อย่างแม่นยำต้องใช้หลักการทางสถิติ เช่น ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และระดับความมั่นใจ (Z-score) ในการคำนวณ อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวิเคราะห์และใช้หลักการเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้การกำหนด Safety Stock อาจคลาดเคลื่อน 

องค์กรที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้อาจต้องพึ่งพาการตั้งค่าที่ไม่ยืดหยุ่น เช่น การกำหนด Safety Stock แบบตายตัว ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับแนวโน้มการใช้งานที่เปลี่ยนแปลง

Safety Stock Journal คืออะไร และมีบทบาทอย่างไรในการบริหารสินค้าคงคลัง

Safety Stock Journal เป็นเครื่องมือช่วยคำนวณระดับสินค้าสำรองขั้นต่ำที่ธุรกิจพึงมีอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนสินค้า แนวคิดนี้เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการ Master Planning ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถรักษาระดับสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การตั้งค่า Safety Stock Journal และ Master Setup แนวทางที่ละเอียดและครอบคลุม

การจัดการสินค้าคงคลังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการกำหนด Safety Stock หรือสินค้าสำรองที่ต้องมีในคลังเพื่อรองรับความผันผวนของอุปสงค์และอุปทาน ในบทความนี้จะอธิบายถึงวิธีการตั้งค่า Safety Stock Journal และ Master Setup อย่างละเอียด เพื่อช่วยให้ระบบสามารถคำนวณและอัปเดตระดับสินค้าสำรองได้แม่นยำและเหมาะสม 

บทบาทของ Safety Stock Journal ในการบริหารสินค้าคงคลัง

Safety Stock Journal เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสามารถติดตามและคำนวณระดับสินค้าสำรองได้อย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถบริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหน้าที่หลักของ Safety Stock Journal ได้แก่ 

    • คำนวณระดับสินค้าสำรองให้เหมาะสมกับแนวโน้มของตลาดและการใช้งานจริง
    • ป้องกันปัญหาสินค้าขาดแคลนที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดส่งล่าช้าหรืออุปสงค์ที่พุ่งสูงขึ้น
    • ลดปริมาณสินค้าคงคลังที่มากเกินไปซึ่งอาจเป็นภาระต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าให้กับธุรกิจ
    • ปรับระดับ Safety Stock โดยอัตโนมัติเพื่อให้สอดคล้องกับปัจจัยที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความผันผวนในการใช้สินค้า หรือระยะเวลาการสั่งซื้อ

เมื่อมีการตั้งค่า Safety Stock Journal อย่างเหมาะสม ระบบจะสามารถคำนวณระดับสินค้าสำรองได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถวางแผนการสั่งซื้อและการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการขาดสินค้าหรือมีสินค้าคงคลังมากเกินไป 

สูตรคำนวณ Safety Stock Journal

  • Average Issue Method

Calculated minimum quantity =
(Issue for n monthn)÷30×(Lead time + Margin)×(Multiplication Factor)(nIssue for n month )÷30×(Lead time + Margin)×(Multiplication Factor)

เมื่อ n = จำนวนเดือนที่กำหนดเป็นค่าที่ใช้ในการคำนวณความต้องการใช้สินค้าย้อนหลัง

ปัจจัยที่ใช้สำหรับการคำนวณ Safety Stock Leve

    • ระยะเวลาในการสั่งซื้อ / สั่งผลิต (Purchase Lead Time / Production Lead Time)
    • จำนวนวันที่ทำการเผื่อสำหรับระยะเวลาการสั่งซื้อ / สั่งผลิต (Margin for calculated safety stock level)
    • จำนวนค่าเผื่อสำหรับ Safety Stock Level (Multiplication factor)
  • Service Level Method

Calculated minimum quantity =

∑i=1n(Average demand per month−μ)2n×Service Level Factor×Lead time30n∑i=1n (Average demand per month−μ)2 ×Service Level Factor×30Lead time

เมื่อ
n = เดือนที่ / จำนวนเดือนที่กำหนดเป็นค่าที่ใช้ในการคำนวณความต้องการใช้สินค้าย้อนหลัง
μ = ค่าเฉลี่ยความต้องการใช้สินค้าในช่วงเวลาที่ใช้ในการคำนวณ

ปัจจัยที่ใช้สำหรับการคำนวณ Safety Stock Level 

    • ระยะเวลาในการสั่งซื้อ / สั่งผลิต (Purchase Lead Time / Production Lead Time)
    • ความต้องการใช้สินค้าต่อเดือน (Average demand per month)
    • ระดับการบริการลูกค้าเพื่อบริหารสินค้าคงคลัง (Service level factor)

การตั้งค่า Safety Stock Journal และ Master Setup ใน D365FO

D365FO มีฟีเจอร์ Safety Stock Journal ที่สามารถคำนวณระดับสินค้าคงคลังสำรองได้โดยพิจารณาจากข้อมูล Purchase Lead Time, Historical Data, และ Current Inventory on-hand Level เพื่อช่วยให้การตั้งค่าระดับสินค้าสำรองเป็นไปตามกลยุทธ์ขององค์กร

การตั้งค่า Safety Stock Journal ใน Dynamics 365 Finance and Operations สามารถทำได้โดยเริ่มจากการกำหนดชื่อและประเภทของ Journal ให้เหมาะสมกับสินค้า เช่น

  • Raw Material Safety Stock Journal – ใช้สำหรับวัตถุดิบที่ต้องเก็บสำรองเพื่อการผลิต
  • Finished Goods Safety Stock Journal – ใช้สำหรับสินค้าสำเร็จรูปที่ต้องมีเพื่อรองรับคำสั่งซื้อของลูกค้า
  • Spare Parts Safety Stock Journal – ใช้สำหรับอะไหล่หรือชิ้นส่วนที่ต้องมีเพื่อรองรับการซ่อมบำรุง

นอกจากการตั้งชื่อ Journal แล้ว ระบบยังต้องกำหนดวิธีการคำนวณระดับสินค้าสำรองให้เหมาะสมกับลักษณะของสินค้าและความต้องการขององค์กร โดยทั่วไป วิธีที่ใช้ในการคำนวณสามารถแบ่งออกเป็นสองแนวทางหลัก

  • Average Issue Method
    วิธีนี้ใช้ค่าเฉลี่ยของปริมาณสินค้าที่ถูกเบิกออกไปในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อตั้งค่าระดับสินค้าสำรอง เหมาะกับสินค้าที่มีอัตราการใช้ที่สม่ำเสมอและมีแนวโน้มการใช้งานคงที่
  • Service Level Method
    วิธีนี้ใช้ระดับการให้บริการ (Service Level) ในการกำหนด Safety Stock เช่น หากต้องการให้มีสินค้าเพียงพอรองรับ 95% ของการใช้งานสินค้าขาออกทั้งหมด ระบบจะคำนวณระดับสินค้าสำรองที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากแนวโน้มอุปสงค์และค่าความแปรปรวนของข้อมูลย้อนหลัง

เมื่อเลือกวิธีการคำนวณแล้ว ระบบต้องใช้ข้อมูลสำคัญ เช่น

Purchase Lead Time – ระยะเวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์
  • Purchase Lead Time – ระยะเวลาที่ใช้ในการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์
Historical Data (ย้อนหลัง 3 เดือนขึ้นไป) – ข้อมูลย้อนหลังที่ช่วยให้สามารถคำนวณค่าเฉลี่ยและแนวโน้มของอุปสงค์ได้
  • Historical Data (ย้อนหลัง 3 เดือนขึ้นไป) – ข้อมูลย้อนหลังที่ช่วยให้สามารถคำนวณค่าเฉลี่ยและแนวโน้มของอุปสงค์ได้
Current Minimum On-Hand Inventory Level – ระดับสินค้าคงคลังขั้นต่ำที่กำหนดไว้ก่อนหน้า
  • Current Minimum On-Hand Inventory Level – ระดับสินค้าคงคลังขั้นต่ำที่กำหนดไว้ก่อนหน้า

เมื่อมีการตั้งค่าที่เหมาะสม ระบบจะสามารถอัปเดตระดับสินค้าสำรองได้โดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Service Level Target ก็เป็นอีกหนึ่งค่าที่ต้องกำหนดให้ชัดเจน เช่น

  • 90% หมายถึง ต้องมีสินค้าสำรองเพียงพอสำหรับ 90% ของความต้องการใช้สินค้า

  • 95% หมายถึง ต้องมีสินค้าสำรองเพียงพอสำหรับ 95% ของความต้องการใช้สินค้า

  • 99% หมายถึง ต้องมีสินค้าสำรองเพียงพอสำหรับ 99% ของความต้องการใช้สินค้า

หากต้องการเพิ่มระดับการให้บริการ (Service Level Target) ระบบจะต้องกำหนด Safety Stock ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของตลาด

การอัปเดตค่าขั้นต่ำของ Safety Stock และการบริหารข้อมูลในระบบ

เมื่อกำหนดค่าต่าง ๆ แล้ว ระบบจะสามารถอัปเดตค่าขั้นต่ำของ Safety Stock โดยอัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล เช่น

การอัปเดตค่าขั้นต่ำของ Safety Stock และการบริหารข้อมูลในระบบ
การอัปเดตค่าขั้นต่ำของ Safety Stock และการบริหารข้อมูลในระบบ
  • หากปริมาณการใช้สินค้าเพิ่มขึ้น ระบบจะเพิ่มระดับ Safety Stock ให้สูงขึ้น
  • หากระยะเวลานำเข้าสินค้า (Lead Time) ยาวขึ้น ระบบจะเพิ่มระดับสินค้าสำรองให้มากขึ้นเพื่อรองรับเวลาการจัดส่งของซัพพายเออร์
  • หากพบว่าสินค้าคงคลังมีปริมาณมากเกินไป ระบบจะลดระดับ Safety Stock ลงเพื่อลดต้นทุนการจัดเก็บ

ประโยชน์ของการตั้งค่า Safety Stock Journal และ Master Setup อย่างถูกต้อง

ประโยชน์ของการตั้งค่า Safety Stock Journal และ Master Setup อย่างถูกต้อง

เมื่อระบบสามารถคำนวณและอัปเดตระดับสินค้าสำรองได้อย่างแม่นยำ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาด

การตั้งค่า Safety Stock Journal และ Master Setup ที่ถูกต้องช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงของสินค้าขาดแคลน ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคำสั่งซื้อ และลดต้นทุนสินค้าคงคลังโดยไม่กระทบต่อความสามารถในการให้บริการลูกค้า

บทสรุป

การบริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ราบรื่น Safety Stock Journal ใน Dynamics 365 Finance & Operations เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนซัพพลายเชนได้อย่างแม่นยำ ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของตลาด

การตั้งค่าและใช้งานฟีเจอร์เหล่านี้อย่างถูกต้องช่วยให้สามารถลดความสูญเสีย เพิ่มความแม่นยำในการวางแผน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ธุรกิจที่สามารถบริหารสินค้าคงคลังได้ดี ย่อมมีความได้เปรียบในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

Quick ERP เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Microsoft Dynamics 365 พร้อมช่วยปรับแต่งและตั้งค่าระบบให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ ตั้งแต่การกำหนดค่า Safety Stock ให้ตรงกับรูปแบบการดำเนินงานขององค์กร การตั้งค่าระบบให้คำนวณสินค้าสำรองอัตโนมัติ ไปจนถึงการวางแผนสินค้าคงคลังให้แม่นยำขึ้นด้วยข้อมูลเชิงลึก

หากต้องการให้ธุรกิจของคุณบริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดต่อ Quick ERP ได้เลย เราพร้อมช่วยให้คุณใช้ Microsoft Dynamics 365 Finance & Operations ได้เต็มศักยภาพ และปรับปรุงกระบวนการจัดการสต็อกให้ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณมากที่สุด

Quick to Grow, Quick to Know

เพราะในโลกธุรกิจทุกวันนี้ “การรู้เร็ว” ไม่ใช่แค่ได้เปรียบ แต่คือหัวใจสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน
กิจกรรม Quicker Knowledge Sharing ประจำเดือนมีนาคม 2025 จัดขึ้นเพื่อเติมพลังให้ทุกคนด้วยการเรียนรู้ที่นำไปใช้ได้จริง พร้อมสร้างพื้นที่ให้ทุกทีมได้แชร์มุมมอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเปิดรับแนวคิดใหม่ที่ช่วยต่อยอดงานในมุมที่ไม่เคยคิดมาก่อน

บทความนี้เรียบเรียงขึ้นจากการแบ่งปันความรู้ของชาว Quicker ในงาน Knowledge Sharing ประจำเดือนมีนาคม 2025 เพื่อถ่ายทอดสาระที่น่าสนใจและต่อยอดสู่การพัฒนาการทำงานของทีมอย่างต่อเนื่อง

การเติบโตขององค์กรไม่อาจเกิดขึ้นจากแค่คนใดคนหนึ่ง แต่ต้องอาศัยการเรียนรู้ร่วมกัน
เมื่อทุกคนมีโอกาส “รู้” มากขึ้น องค์กรก็ “เติบโต” ได้เร็วขึ้น

Quick to Grow, Quick to Know วัฒนธรรมของการทำงานร่วมกันที่เราสร้างขึ้นในทุกเดือน

ก้าวเข้าสู่ Digital Business

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

Table of Content