จัดการและควบคุมการผลิตในระดับ Control Room (planning) และ Master Data ด้วย
จากบทความก่อนหน้านี้ ทุกคนคงได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ Master Data อย่างการแบ่งกะการทำงานหรือการผลิต การกำหนดกลุ่มเครื่องจักร รายละเอียดผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ รวมถึงการจัดการกับ Waiting Time ที่เกิดขึ้นจากการผลิต และวันนี้เราจะดูในส่วนของการนำ Master Data ไปสร้างใบสั่งผลิต ไปถึงการวางแผนการผลิต จนกระทั่งติดตามผลลัพธ์การผลิต
Quick Suggest
หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ
ระบบสร้างใบสั่งผลิตมีอะไรบ้าง ?
ใบสั่งผลิตถูกสร้างได้จาก 2 ระบบ ดังนี้
- 1. สร้างโดยตรงจากระบบ MES
- 2. สร้างจากการส่งข้อมูลจากระบบ ERP หรือโปรแกรมอื่น ๆ
ส่วนประกอบสำคัญของใบสั่งผลิต
โดยส่วนประกอบสำคัญของใบสั่งผลิตประกอบไปด้วย
- 1. เลขที่ใบสั่งผลิต (Production Number)
- 2. รหัสสินค้าที่ต้องการผลิต (Item Code) รวมถึงขั้นตอนการผลิต (Item Route)
- 3. จำนวนที่ต้องการผลิต (Plan Quantity)
ขั้นตอนถัดมาหลังจากได้รับใบสั่งผลิต คือ การเริ่มวางแผนการผลิต อันดับแรกเราต้องเปิดกะการทำงานเสียก่อน โดยกำหนดกะการทำงาน (Shift) ผูกกับกลุ่มทรัพยากร (Resource Group) และหลังจากเสร็จสิ้นจึงเลือกทรัพยากร (Resource) ที่จะใช้ในการผลิต
ซึ่งกระบวนการวางแผนนี้จะช่วยตรวจสอบและทำให้เห็นกำลังการผลิตในแต่ละวัน และยังสามารถเพิ่มหรือลดเวลาการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของการผลิตย่อยแต่ละ Resource ได้อีกด้วย
รูปแบบการขึ้นงานมีกี่ประเภท
การจัดการและควบคุมการผลิตด้วย Quick MES สามารถแบ่งรูปแบบการขึ้นงานเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
การขึ้นงานแบบ 1:1
ความหมาย: 1 จุดการทำงานเชื่อมต่อกับ 1 เครื่องจักรและใช้กับ 1 ใบสั่งผลิต (เครื่องใครเครื่องมัน)
เหมาะสำหรับ: เครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ หรือมีการทำงานแบบต่อเนื่อง
การขึ้นงานแบบ 1:6 (เครื่องจักร)
ความหมาย: 1 จุดการทำงานเชื่อมต่อกับ 6 เครื่องจักรและใช้กับ 6 ใบสั่งผลิต
เหมาะสำหรับ: พื้นที่น้อย มีข้อจำกัดในการสแกนขึ้น-ลงงาน เพราะมีหน้าจอสแกนเพียงหน้าจอเดียว
การขึ้นงานแบบ 1:6 (คน)
ความหมาย: 1 จุดการทำงานเชื่อมต่อกับ 6 คนทำงานและใช้กับ 6 ใบสั่งผลิต
เหมาะสำหรับ: งานที่ต้องใช้แรงงานคนเท่านั้น เช่น ติดกาว แต่งผิว ประกอบสินค้า เป็นต้น
การขึ้นงานกลุ่ม
ความหมาย: จุดการทำงานเชื่อมต่อกับ 1 เครื่องจักรและใช้กับหลายใบสั่งผลิต
เหมาะสำหรับ: งานที่สามารถทำร่วมกันได้ เช่น งานอบ พ่นสี ตัด เจาะ เป็นต้น
จากข้อมูลและรูปภาพอธิบายข้างต้น ในหนึ่งอุตสาหกรรมอาจจะมีการทำงานทั้ง 4 รูปแบบ หรือมีรูปแบบการทำงานอื่น ๆ อีกก็สามารถเป็นไปได้
การที่จะสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดจากการผลิตได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น เวลาการทำงาน จำนวนการผลิต เหตุผลการหยุดการรอในการทำงาน จะช่วยให้การบันทึกข้อมูลมีความถูกต้องและแม่นยำ และจะส่งผลให้การวิเคราะห์ การประมวลผล และการวางแผนการผลิตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และทั้งหมดนี้คือโครงสร้างของระบบ MES และการเชื่อมโยงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เราได้รวบรวมมาให้ทุกคนได้อ่านและรู้จักระบบ MES มากยิ่งขึ้น
ก้าวเข้าสู่ Digital Business
ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่