EP 5: การใช้งาน UiPath RPA and Microsoft Dynamics 365 for Finance and Operations

UiPath ซอฟแวร์ประเภท RPA (Robotic Process Automation) เครื่องมือที่สร้างหุ่นยนต์หรือ Robot ขึ้นมาเพื่อให้ทำงานซ้ำๆ ที่มีรูปแบบตายตัว ช่วยจำลองการทำงานและโต้ตอบต่างๆ
blog cover5
ทางลัด: เลือกอ่านเฉพาะเรื่องที่อยากรู้

UiPath ซอฟแวร์ประเภท RPA (Robotic Process Automation) เป็นเครื่องมือที่สร้างหุ่นยนต์หรือ Robot ขึ้นมาเพื่อให้ทำงานซ้ำๆ ที่มีรูปแบบตายตัว ช่วยจำลองการทำงานและการโต้ตอบต่างๆ ที่มนุษย์ทำบนระบบดิจิตอล

ตัวอย่างในบล็อคนี้ จะเป็นการนำ UiPath มาช่วย input data ในโปรแกรม Dynamics 365 for Finance and Operations

UiPath Studio

ไปยังหน้าเว็บไซต์ UiPath จากนั้นเข้าไปยังหน้าดาวน์โหลด studio โดยเราจะใช้เป็น Community License (free) เข้าใช้งานโปรแกรม อันดับแรกไปที่ Tools และ install extensions browser ที่เราใช้

UiPath RPA and Microsoft 1

Process

เริ่มสร้าง Process และ Record หน้าจอ, ขั้นตอนนี้จะให้ robot ลอกเลียนการทำงาน

UiPath RPA and Microsoft 2
UiPath RPA and Microsoft 3
UiPath RPA and Microsoft 4

เสร็จแล้วจะได้ Sequence ออกมาเป็น activity ตามรูป

UiPath RPA and Microsoft 5

ขั้นตอนถัดไป เราจะให้ bot อ่านค่าข้อมูลจากไฟล์ csv

UiPath RPA and Microsoft 6

ใช้ Activity “Read CSV” มาอ่านไฟล์ที่เราเลือก

UiPath RPA and Microsoft 7
UiPath RPA and Microsoft 8

ใช้ Activity “For Each Row” เพื่อวนลูปอ่านข้อมูลทุกบรรทัดในไฟล์ออกมา และลาก activity ที่เกี่ยวกับหน้าจอโปรแกรมที่เรา record ไว้ ไปอยู่ข้างใน Foreach loop

ตัวแปร dtDimension เป็น DataTable ของไฟล์ csv
ตัวแปร row เป็นข้อมูล 1 บรรทัดของไฟล์ csv
ใช้คำสั่ง row(“ชื่อคอลัม”).ToString สำหรับนำค่าใน csv ไป input ใน textbox ของโปรแกรม

UiPath RPA and Microsoft 9

ทดสอบ Run

UiPath RPA and Microsoft 10
UiPath RPA and Microsoft 11

จากตัวอย่างขั้นตอนที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างการสร้าง robot อย่างง่ายเท่านั้น ในการใช้งานจริงแล้ว อาจจะมี activity ยากกว่านี้, flow การทำงานที่ยาวกว่านี้ และเงื่อนไขมากกว่านี้ก็เป็นได้

แต่จากมุมมองของผู้เขียน ในการนำมาใช้กับโปรแกรม Dynamics 365 for Finance and Operations นั้น มีประโยชน์อย่างมากในการช่วย Migration Data เข้าระบบ ซึ่งบางหน้าจอของโปรแกรม ไม่มี Data Entity รองรับ หรือเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับการนำเข้าด้วย SQL Statement (insert relation ไม่ครบ) เพราะฉะนั้นการ input ข้อมูลเข้าไปตรง ๆ จึงดีกว่า และถ้าข้อมูลเยอะ ก็เป็นการทุ่นแรงมนุษย์ไปในตัวอีกด้วย

ก้าวเข้าสู่ Digital Business

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

Table of Content

🧑‍💻 Workshop สร้าง AI-Chatbot ผู้ช่วยอัจฉริยะปฏิวัติองค์กรดิจิทัล

สร้าง AI-Chatbot อัจฉริยะด้วย Copilot Studio! เชื่อมระบบในองค์กรได้ทันที ยกระดับ Productivity ด้วยการสอนที่เข้าใจง่ายและลงมือทำได้จริง