MES ติดตาม-วิเคราะห์การผลิตอัตโนมัติ ถูกกว่านำเข้า ลดต้นทุน 30%

ระบบติดตามการทำงานและสถานะการผลิต, วิเคราะห์ข้อมูล, แสดงผลแบบเรียลไทม์ ช่วยลดความสูญเสียในการผลิตได้สูงถึง 30%
blog MES

MES ระบบติดตามการทำงานและสถานะการผลิต, วิเคราะห์ข้อมูล, แสดงผลแบบเรียลไทม์ ช่วยลดความสูญเสียในการผลิตได้สูงถึง 30%

นายวีรวัฒน์ ศรีอารยะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ควิก อีอาร์พี จำกัด (Quick ERP) กล่าวว่า ที่ผ่านมา โรงงานไทย โดยเฉพาะภาคการผลิตมีปัญหาด้านจัดเก็บข้อมูลการผลิตที่ใช้แรงงานคนคีย์ข้อมูลด้วยมือ ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่ละเอียด ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน และต้องใช้เวลาในการบันทึก รอคอยผลนาน ไม่สามารถนำข้อมูลมาเตรียมการผลิต หรือวางแผนแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า หรือ เกิดขึ้นกะทันหัน นอกจากนี้ข้อมูลที่ไม่ละเอียด ยังทำให้ไม่สามารถค้นหาปัญหา หรือ สาเหตุที่แท้จริงของความสูญเสียที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในสายการผลิต อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงหัวหน้างานแก้ปัญหาไม่ตรงจุด กระทบโดยตรงต่อคุณภาพของสินค้า/ผลิตภัณฑ์ และกำไร-ขาดทุนของบริษัท

blog MES2

ทีมนักพัฒนาของ Quick ERP จึงเข้าไปศึกษา Manufacturing Execution System หรือ MES อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นระบบติดตามสถานะการผลิตแบบเรียลไทม์ เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ของต่างประเทศ แต่การนำเข้าระบบมีราคาสูงเกือบ 10 ล้านบาท Quick ERP จึงใช้เวลาตลอด 5 ปี คิดค้น สร้างและพัฒนา MES สัญชาติไทย ที่ได้มาตรฐาน ออกแบบเป็นแพล็ตฟอร์มที่เหมาะกับรูปแบบการผลิตของอุตสาหกรรมไทย ให้เป็นโซลูชันเพื่อกระบวนการผลิตแบบครบวงจร ทั้งนี้ หากโรงงานนำระบบ MES เข้าไปใช้ในการผลิตจะช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิต ลดของเสีย เพิ่มของดี ใช้เวลางานและเครื่องจักรอย่างคุ้มค่า อีกทั้งสามารถลดต้นทุนการผลิตได้สูงถึง 30%

Quick Suggest

ในอดีตการบันทึกข้อมูลการผลิตจะบันทึกเป็นไทม์ไลน์ยาวๆ ตั้งแต่เริ่มงาน 8.00 น. จนถึงเลิกงาน 17.00 น. โดยเจ้าหน้าที่จะบันทึกว่าตลอด 8-9 ชั่วโมง ผลิตงานได้กี่ชิ้น เป็นของดีกี่ชิ้น เป็นของเสียกี่ชิ้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์ว่าจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ เป็นการผลิตที่เต็มศักยภาพแล้วหรือไม่ มีช่วงเวลาไหนที่มีปัญหา เครื่องจักรขัดข้อง หรือเกิดเบรกดาวน์บ้างหรือเปล่า หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ทำงานเต็มประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาการทำงานหรือไม่ ซึ่งระบบ MES จะเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้ โดย MES จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า MES terminal เป็นอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องจักร เชื่อมข้อมูลของเครื่องจักรไว้ ทำให้เห็นสถานะของเครื่องจักรตลอดเวลา เช่น ขณะนี้เครื่องจักรกำลังทำงาน หรือ หากเครื่องจักรหยุดทำงาน ก็จะรู้ว่าหยุดทำงานช่วงเวลาไหน และนานเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวชี้เป้าให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตได้อย่างชัดเจน และสามารถแก้ปัญหาได้ทันเวลา เนื่องจากข้อมูลแสดงให้เห็นทันที และสามารถเข้าถึงข้อมูลพร้อมๆ กันได้ทั้งองค์กร” นายวีรวัฒน์ กล่าว

นอกจากติดตามและแสดงผลสถานะการผลิตแบบเรียลไทม์แล้ว ระหว่างการผลิต MES ยังแสดงผลการทำงาน 3 ด้าน ที่อัปเดตเป็นวินาที คือ ด้านประสิทธิภาพการทำงาน หรือ Availability (A) หน้าจอจะแสดงให้เห็นแถบสีสถานะการทำงาน โดยสีเขียวคือช่วงเวลาที่เครื่องจักรทำงาน และสีส้มคือช่วงเวลาที่เครื่องจักรหยุดทำงาน การแสดงผลนี้จะทำให้เห็นว่าตลอดระยะเวลาทำงาน 8-9 ชั่วโมง เจ้าหน้าผู้ควบคุมที่อยู่ที่หน้างานหรือไม่, เครื่องจักรมีการทำงานจริงๆ กี่ชั่วโมง และยังบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักร หากเครื่องจักรหยุดทำงานนานๆ บ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณว่าเครื่องจักรเริ่มมีปัญหา ด้านที่สอง คือ จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ต่อระยะเวลาการผลิต หรือ Performance (P) ระบบ MES จะคำนวณค่า P ว่าในแต่ละรอบการผลิตจะต้องผลิตชิ้นงานได้กี่ชิ้น และการผลิตจริงสามารถผลิตได้กี่ชิ้น เป็นไปตามที่ประเมินไว้หรือไม่ หากไม่เป็นไปตามที่ประเมิน หัวหน้างาน สามารถนำข้อมูลมาปรับแผนการผลิตได้ทันที เพื่อให้ได้จำนวนชิ้นงานตามที่วางแผน และด้านที่ 3 คือ ด้านคุณภาพ หรือ Quality (Q) ระบบ MES จะแสดงผลการผลิตตลอดเวลาว่ามีผลงานที่ใช้ได้กี่ชิ้น และผลงานที่เสียกี่ชิ้น จะต้องผลิตเพิ่ม หรือ ต้องแก้ปัญหาอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลงานเพียงพอตามออร์เดอร์ของลูกค้า

ข้อมูลทั้ง 3 ด้าน ยังถูกนำมาประมวลผลต่อ โดย MES จะนำมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพโดยรวมของการผลิต (Overall Equipment Effectiveness) หรือ OEE ซึ่งจะคำนวณและแสดงผลคู่กันไปแบบเรียลไทม์ ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ในไลน์ผลิต หัวหน้างาน จนถึงเจ้าของกิจการ สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดนี้ได้ตลอดเวลา เพื่อเช็กการทำงาน หรือ เช็กคุณภาพของผลงาน ไปจนถึงสามารถวางแผน ปรับเปลี่ยนการผลิตได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องรอข้อมูลเป็นชั่วโมงๆ เพื่อมาวิเคราะห์ หรือรอข้อมูลที่คีย์ใส่ระบบแบบข้ามวันเหมือนในอดีต” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท Quick ERP อธิบายเสริม

Quick Suggest

ถ้าสนใจอยากรู้เรื่อง OEE เพิ่มเติม ขอแนะนำบทความ

โรงงาน หรืออุตสาหกรรมที่นำโซลูชัน MES เข้าไปใช้จะเห็นคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตที่สูงขึ้น ดีขึ้น อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้เวลาทำงานที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากหน้าจอที่ไลน์การผลิตสะท้อนการทำงานของเจ้าหน้าที่และเครื่องจักร เจ้าหน้าที่จะพยายามรักษาไทม์ไลน์การทำงานที่หน้าจอให้เป็นสีเขียว ซึ่งส่วนนี้จะช่วยดึงเวลางานกลับมาสู่การทำงานจริงได้ถึง 30% นอกจากเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพขึ้น ยังใช้เครื่องจักรได้คุ้มค่ามากขึ้น เพราะการใช้งานเครื่องจักรแต่ละครั้งจะมีค่าเสื่อมตามวันที่ใช้งาน หากใช้งานเครื่องจักรไม่เต็มประสิทธิภาพ ก็จะสูญเสียค่าเสื่อมไปโดยไร้ค่า แต่เมื่อเวลาถูกใช้อย่างมีคุณภาพ ก็จะได้ชิ้นงานเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ

blog MES1

ระบบ MES ของ Quick ERP ใช้เวลาพัฒนานานถึง 5 ปี เพื่อให้ได้โซลูชันที่ตอบโจทย์ และเป็นตัวช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมไทยมากที่สุด โดย Quick ERP เป็นผู้ผลิตรายเดียวในประเทศไทยที่คิดค้นและพัฒนา MES เองทั้งระบบ 100% และได้รับมาตรฐาน ISA 95 สามารถเชื่อมต่อ MES เพื่อใช้งานกับระบบ ERP ได้ทุกโปรแกรม ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้เกิดโรงงานอัจฉริยะ สร้างระบบการผลิตแบบอัตโนมัติให้เกิดขึ้นแพร่หลายในประเทศ Quick ERP จึงตั้งใจให้ราคา MES จับต้องได้ อุตสาหกรรมขนาดเล็กก็สามารถสร้างระบบอัตโนมัติของตัวเองได้ โดยมีราคาไม่ถึงล้านบาท ถูกกว่าระบบ MES ของต่างประเทศ 10 เท่า ที่ต้องลงทุนร่วม 10 ล้านบาท

ก้าวเข้าสู่ Industry 4.0

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

Table of Content