เลือก Remote I/O อย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งานในโรงงานของคุณ

ใช้ Remote I/O เมื่อไร เลือกช่องทางสื่อสารอย่างไรให้เหมาะกับงาน เลือกโปรโตคอลอย่างไรให้รองรับการสื่อสารงาน IoT การกำหนดฟังก์ชันตามชนิดของ sensor
Remote I O cover 1
Table of Content
Remote I O

1. ต้องใช้ Remote I/O เมื่อใด ?

โมดูล Remote I/O เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในสถานการณ์ต่อไปนี้

  • เซนเซอร์หรือแอคทูเอเตอร์ กระจัดกระจายอยู่หลายที่ และไม่สามารถกำหนดค่าชุดคอนโทรลเลอร์ในแต่ละตำแหน่งได้ ซึ่งจะทำให้มีราคาสูงเกินไปและไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
  • ระยะห่างระหว่างตัวควบคุมและเซ็นเซอร์/แอคทูเอเตอร์ที่ห่างไกล ดังนั้นสัญญาณจะถูกรบกวนได้ง่าย ส่งผลให้ข้อมูลมีความผิดพลาดเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น การใช้ Remote I/O ใกล้กับเซ็นเซอร์เพื่อส่งข้อมูลไปยังตัวควบคุม ก็จะสามารถลดความซับซ้อนในการเดินสาย ค่าใช้จ่าย และเวลาได้เป็นอย่างมาก

2. เลือกช่องทางการสื่อสารของ Remote I/O อย่างไรให้เหมาะกับงานของคุณ ?

ให้เลือกหลากหลาย ได้แก่ RS-485, Ethernet, Wireless และ CAN ซึ่งแต่ละช่องทางการสื่อมีข้อดีและข้อเสียกันคนละแบบ ควรเลือกให้เหมาะสมการสภาพหน้างานของคุณ ตัวอย่างเช่น

  • S-485

    อินเทอร์เฟซ RS-485 มีระยะการส่งข้อมูลที่ไกล และต้นทุนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการสื่อสารแบบ Ethernet แต่ความเร็วในการส่งข้อมูลค่อนข้างจะช้ากว่า และอุปกรณ์เชื่อมต่อมีจำนวนจำกัด ข้อมูลจากอินเทอร์เฟซ RS-485 ต้องใช้การเชื่อมต่อกับเกตเวย์ ก่อนที่จะส่งไปยังคลาวด์

  • Ethernet

    การสื่อสารแบบ Ethernet นั้นรวดเร็วและสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลายและได้จำนวนจุดที่มากกว่า RS-485 ข้อมูลจาก Ethernet ยังสามารถส่งไปยังคลาวด์ได้โดยตรงผ่านโปรโตคอลการสื่อสารที่ใช้งานได้หลากหลาย

  • Wireless (LPWAN/LoRaWAN/WiFi/NB-IoT)

    การสื่อสารแบบไร้สายสามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นในพื้นที่ ที่ไม่สามารถเดินสายได้ แอปพลิเคชัน IoT ทางอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน พลังงาน และการขนส่ง ใช้การเชื่อมต่อแบบไร้สายเพื่อให้สามารถส่งสัญญาณทางไกลและใช้พลังงานต่ำได้

  • CAN

    การสื่อสาร CAN นั้นเหมาะกับงานที่ต้องการความเร็วสูงในการสื่อสาร เดินสายเรียบง่าย มีความทนทานต่อสัญญาณรบกวนสูง และใช้กันอย่างแพร่หลายในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณรบกวนมาก

3. เลือกโปรโตคอล Remote I/O อย่างไร ให้รองรับการสื่อสารสำหรับงาน IoT ?

มีโปรโตคอลการสื่อสารจำนวนมากในระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ตารางต่อไปนี้แสดงรายการโปรโตคอลการสื่อสารสำหรับ IoT ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เราควรเลือกใช้งาน ที่มีโปรโตคอลการสื่อสารเหล่านี้ เช่น OPC UA ,MQTT และ RESTful API เพื่อให้ส่งข้อมูลให้ IoT Platform ได้

Remote I O protocols

4. กำหนดฟังก์ชัน Remote I/O ตามชนิดการทำงานของเซนเซอร์และแอคทูเอเตอร์

put ให้ตรงตามชนิดสัญญาณของ เซ็นเซอร์และแอคทูเอเตอร์และตามการใช้งานจริง เราสามารถกำหนดลักษณะได้ทั่งในแบบ Analog หรือ Digital สำหรับการเลือก Remote I/O มีให้เลือกพิจารณาได้ดังนี้

อนาล็อก:

Remote I O Analog

อินพุตดิจิตอล:

Remote I O input

เอาต์พุตดิจิตอล:

Remote I O output

ตัวอย่างการใช้งาน Remote IO ในอุตสหกรรมด้านต่าง ๆ

  • Semiconductor: A Remote I/O Solution Facilitates Data Acquisition for Robots and CVD/PVD Equipment
Remote I O semi 2 diagram
  • Water & Wastewater: An OPC UA Solution for a Wastewater Treatment Monitoring System
Remote I O Water Wastewater
  • Mining: Advantech and PACE Establish a LoRaWAN Solution for General Mining Wellfield Monitoring
Remote I O mining
  • Infrastructure: High-Speed Distributed DAQ System for Bridge Structural Health Monitoring
Remote I O Infrastructure
  • Oil & Gas: OPC UA Enabled SCADA Monitoring Solution for Gas Stations
Remote I O Oil Gas

ก้าวเข้าสู่ Industry 4.0

ดูผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

Search
microsoft partner of the year 2024 Quick ERP

Quick ERP รับรางวัล Partner of the Year Awards 2023 – Dynamics 365 Finance

รางวัล 3 ปีซ้อน ได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินธุรกิจในระดับสูงตลอดปีที่ผ่านมา ตลอดจนมีกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดที่สมบูรณ์และไม่เหมือนใคร